Title | การกำจัดแอมโมเนียม-ไนโตรเจนจากน้ำเสียสังเคราะห์ที่มีแอมโมเนียมในปริมาณสูงโดยตะกอนเร่งตรึงรูป |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2558 |
Authors | ทักษกร วงศ์สีดา |
Degree | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม |
Institution | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | TD ท336ก 2558 |
Keywords | การกำจัดไนโตรเจน, น้ำเสีย--การบำบัด, น้ำเสีย--การบำบัด--การกำจัดแอมโมเนีย |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการกำจัดแอมโมเนียมไนโตรเจนจากน้ำเสียสังเคราะห์ โดยตะกอนเร่งตรึงรูปด้วยการควบคุมอัตราส่วนเวลาระหว่างการให้อากาศและไม่ให้อากาศที่อัตราส่วนเวลา 1:1, 1:2 และ 2:1 (ชั่วโมง : ชั่วโมง) ทุกอัตราส่วนใช้เวลา 12 ชั่วโมง ที่ความเข้มข้นเริ่มต้นของแอมโมเนียมไนโตรเจนเท่ากับ 198, 197, 217 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ พบว่าอัตราส่วนเวลาที่มีประสิทธิภาพการกำจัดแอมโมเนียมได้ดีที่สุดคืออัตราส่วนเวลา 1:2 โดยสามารถกำจัดได้เท่ากับ 90.8% รองลงมา คือ ที่อัตราส่วนเวลา 1:1 และ 2:1 สามารถกำจัดได้เท่ากับ 79.2% และ 77.8% ตามลำดับ สำหรับอัตราส่วนเวลาที่มีประสิทธิภาพการกำจัดไนไตรท์ได้ดีที่สุด คือ อัตราส่วนเวลา 1:2 โดยสามารถกำจัดได้เท่ากับ 56.40% รองลงมา คือ ที่อัตราส่วนเวลา 1:1 และ 2:1 สามารถกำจัดได้ 47.0% และ 54.9% ตามลำดับ ส่วนอัตราส่วนที่มีประสิทธิภาพการกำจัดไนเตรทได้ดีที่สุด คือ อัตราส่วนเวลา 1:2 สามารถกำจัดได้เท่ากับ 85.4% รองลงมา คือ ที่อัตราส่วนเวลา 1:1 และ 2:1 สามารถกำจัดได้เท่ากับ 52.1% และ 62.1% ตามลำดับ และพบว่าประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีได้ดีที่สุด คือ อัตราส่วนเวลา 2:1 สามารถกำจัดได้เท่ากับ 69.7% รองลงมา คือ ที่อัตราส่วนเวลา 1:1 และ 1:2 สามารถกำจัดได้เท่ากับ 60.1% และ 67.5% ตามลำดับ ผลการวิจัยนี้แสดงว่าอัตราส่วนเวลาระหว่างการให้อากาศและไม่ให้อากาศที่เหมาะสมในการจำกัดแอมโมเนียมไนโตรเจนอยู่ที่อัตราส่วนเวลา 1:2 โดยสามารถกำจัดได้เท่ากับ 90.8% และที่อัตราส่วนเวลา 2:1 โดยสามารถกำจัดซีโอดีได้เท่ากับ 69.7% การวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการศึกษาเพื่อพัฒนาตะกอนเร่งตรึงรูปในระบบบำบัดน้ำเสียต่อไป |
Title Alternate | Removal of ammonium-n from ammonium-rich synthetic wastewater using immobilized activated sludge |