การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการบริโภคพริก

Titleการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการบริโภคพริก
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2555
Authorsวิเชียร ศรีหนาจ
Degreeวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTD ว561ก 2555
Keywordsการบริโภคพริก, การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพ, พริก--การปลูก, สารประกอบออร์แกนโนฟอสฟอรัส, สารพิษตกค้างทางเกษตรกรรม, สารพิษตกค้างในอาหาร--ผลกระทบต่อมนุษย์
Abstract

การศึกษานี้ เป็นการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการบริโภคพริกที่ปนเปื้อนสารกำจัดศัตรูพืชคลอร์ไพรีฟอสและโพรฟีโนฟอส โดยพื้นที่ปลูกพริกที่ศึกษาอยู่ในเขตตำบลหัวเรือ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี การสำรวจพฤติกรรมการบริโภคครอบคลุมประชากรทั้งในและนอกพื้นที่เพาะปลูกพริก จำนวนทั้งหมด 200 คน การศึกษาอยู่ในช่วงระหว่างเดือนตุลาคม 2553 ถึงเดือนเมษายน 2554 วิธีการศึกษาพฤติกรรมการบริโภคเป็นการสอบถามวิธีการสัมภาษณ์โดยตรง ส่วนการปนเปื้อนวิเคราะห์จากสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างในพริก ผลการศึกษาพบว่าประชากรในกลุ่มตัวอย่างเป็นชาย 50 คน และหญิง 150 คน มีช่วงอายุระหว่าง 13 ถึง 82 ปี และมีน้ำหยักเฉลี่ย (±ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน) 56.99±9.37 กิโลกรัม สำหรับการวิเคราะห์สารกำจัดศัตรูพืชตกค้างในพริกหลังฉีดพ่น 7 วัน ตรวจพบสารคลอร์ไพรีฟอสและโพรฟีโนฟอสเฉลี่ย 0.35 และ 1.70 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ ค่าคงที่อัตราการย่อยสลายของสารคลอร์ไพรีฟอสและโพรฟีโนฟอสในธรรมชาติ คือ 8 วัน หลังฉีดพ่นสารกำจัดศัตรูพืช ปริมาณการรับสัมผัสสารคลอร์ไพรีฟอสและโพรฟีโนฟอสจากการบริโภคพริกเฉลี่ย คือ 3.70×10-5 และ 1.79×10-4 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน ตามลำดับ จากพฤติกรรมการบริโภคและการรับสัมผัสสารสามารถระบุความเสี่ยง โดยอาศัยค่าดัชนีบ่งชี้อันตราบ (HQ) แบบไม่ใช่สารก่อมะเร็งพบว่า ค่าดัชนีบ่งชี้อันตรายของสารคลอร์ไพรีฟอสมีค่าน้อยกว่าค่าที่ยอมรับได้ (HQ<1) ในขณะที่ดัชนีบ่งชี้อันตรายของสารโพรฟีโนฟอสค่าสูงกว่าค่าที่ยอมรับได้ (HQ>1) โดยพบว่าค่าเฉลี่ยและค่าสูงสุดมีค่าสูงกว่าค่าปริมาณอ้างอิงถึง 2 และ 18 เท่า ตามลำดับ

Title Alternate Health risk assessment from chili ingestion