Title | การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2558 |
Authors | สุชาดา พ่อไชยราช |
Degree | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา |
Institution | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | QH ส759ก 2558 |
Keywords | การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ, การสอนวิทยาศาสตร์, ความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์, ชีววิทยา--การศึกษาและการสอน, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, พันธุศาสตร์--การศึกษาและการสอน |
Abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถดเนการคิดวิเคราะห์ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ เรื่องการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมพร้อมทั้งศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียน ความคงทนของความรู้ของนักเรียนประสิทธิภาพและดัชนีประสิทธิผลของแผนการตัดการเรียนรู้ โดยกลุ่มที่ศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 36 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนหนองกุงศรีวิทยาคาร ขั้นตอนการวิจัยประกอบด้วย การทดสอบก่อนเรียน การจัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้รวมระยะเวลา 12 ชั่วโมง และการทดสอบหลังเรียน 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 คือ หลังเรียนเสร็จ และครั้งที่ 2 หลังจากการเรียนรู้ทั้งหมดผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์ พบว่ารูปแบบการเรียนรู้แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ทำให้นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์หลังเรียน (29.69±3.28) สูงกว่าก่อนเรียน (8.93±2.61) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ยกระดับคะแนนจากระดับอ่อนไปอยู่ในระดับดีมาก นักเรียนทั้งชั้นมีความก้าวหน้าทางการเรียนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับสูง (0.7716) ในส่วนของคะแนนความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์หลังเรียน (20.00±1.47) สูงกว่าคะแนนความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียน (6.36±2.91) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกระดับคะแนนจากระดับอ่อนไปอยู่ระดับดีมาก โดยนักเรียนมีความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ความสำคัญมากที่สุด รองลงมาคือการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ และการวิเคราะห์หลักการ ตามลำดับ ความก้าวหน้าทางการเรียนด้านการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนทั้งชั้นอยู่ในระดับสูง (0.7732) คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์หลังเรียนทั้ง 2 ครั้ง ไม่แตกต่างกันที่ระดับ 0.05 แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีความคงทนของความรู้ทั้งด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและด้านการคิดวิเคราะห์กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะวิทยาศาสตร์นี้มีค่าประสิทธิภาพของกระบวนการเท่ากับ 84.27 และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและด้านการคิดวิเคราะห์เท่ากับ 82.48 และ 83.33 ซึ่งเท่ากับเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ (80/80) และดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้มีค่าเท่ากับ 0.7454 |
Title Alternate | The development of grade 10 students' learning achievement and analytical thinking ability on genetic inheritance using science inquiry approach |