Title | การกำจัดพาราเซตามอลด้วยเอนไซม์แลคเคสตรึง |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2557 |
Authors | สุพจน์ ปุนบุตร |
Degree | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม |
Institution | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | TD ส826ก 2557 |
Keywords | พาราเซตามอล--ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม, อะเซตามิโนเฟน, แลคเคสตรึง, โซเดียมแอลจิเนต--การใช้ประโยชน์ |
Abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราส่วนของแลคเคสหยาบต่อโซเดียมแอลจิเนตที่เหมาะสมในการตรึงแลคเคส เพื่อใช้ในการกำจัดพาราเซตามอลในชุดทดลองแบบกะและแบบไหลต่อเนื่องในหอบรรจุ ภายใต้สภาวะที่เปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของเอนไซม์ ความเข้มข้นของพาราเซตามอล ค่าพีเอชของสารละลายพาราเซตามอล อุณหภูมิของสารละลายพาราเซตามอล การนำเอนไซม์แลคเคสตรึงกลับมาใช้ซ้ำ อัตราการไหลของสารละลายพาราเซตามอลและความสูงของหอบรรจุเอนไซม์แลคเคสหยาบที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้สกัดจากเชื้อ Lentinus Polychous Lev. เอนไซม์ถูกนำมาตรึงแบบดักติดด้วยโซเดียมแอลจิเนตและแบเรียมคลอไรด์ที่ความเข้มข้น 5% (w/v) โดยน้ำหนักต่อปริมาตรทั้งสองชนิด ผลการศึกษาพบว่าสภาวะที่เหมาะสมในการตรึงเอนไซม์แลคเคสด้วยแบเรียมแอลจิเนต คือ อัตราส่วนเอนไซม์แลคเคสหยาบต่อสารละลายโซเดียมแอลจิเนต 1:8 โดยปริมาตร ผลการศึกษาการกำจัดพาราเซตามอลที่สภาวะต่าง ๆ พบว่า เปอร์เซ็นต์การกำจัดพาราเซตามอลสูงสุด เท่ากับ 78.64% และ 100% ในการทดลองแบบกะและการทดลองแบบไหลต่อเนื่องในหอบรรจุตามลำดับ ที่เวลา 120 นาที ความเข้มข้นของพาราเซตามอล 1 มิลลิกรัมต่อลิตร ความเข้มข้นของเอนไซม์แลคเคสหยาบตรึง 0.216 ยูนิตต่อกรัม ค่าพีเอช 7 อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียสสำหรับการทดลองแบบกะ และอัตราการไหลของพาราเซตามอล 2 มิลลิลิตรต่อนาทีความสูงของหอบรรจุเท่ากับ 45 เซนติเมตรสำหรับการทดลองแบบไหลต่อเนื่องในหอบรรจุ โดยการดูดซับซึ่งเกิดจากวัสดุดักติดมีผลน้อยมาก ประสิทธิภาพการนำกลับมาใช้ใหม่ของเอนไซม์แลคเคสตรึงลดลงเหลือ 70% หลังจาก 5 รอบการใช้งาน เมื่อเทียบกับรอบแรกของการใช้งาน ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าเอนไซม์แลคเคสตรึงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กำจัดพาราเซตามอลและสามารถนำไปใช้ประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรม |
Title Alternate | Removal of paracetamol by immobilized laccase |