Title | การเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติจริงในเซลล์กัลวานิก ด้วยชุดการทดลองที่ประดิษฐ์มาจากกระดาษ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจของนักเรียนในวิชาเคมี |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2557 |
Authors | อัญชลี ชาติมนตรี |
Degree | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา |
Institution | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | QD อ525ก 2557 |
Keywords | การสอนวิทยาศาสตร์, การเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติจริง, เคมี--การศึกษาและการสอน, เคมี--การสอนด้วยสื่อ, เคมี--กิจกรรมการเรียนการสอน |
Abstract | งานวิจัยนี้ศึกษาการเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติจริงในเซลล์กัลป์วานิก ด้วยชุดการทดลองที่ประดิษฐ์มาจากกระดาษ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจของนักเรียนในวิชาเคมีสำหรับการสร้างชุดทดลองที่ประดิษฐ์มาจากกระดาษ ใช้แผ่นโลหะ สารละลายโลหะ และสารละลายโพแทสเซียมไนเตรตเป็นขั้วไฟฟ้า สารละลายของโลหะชนิดเดียวกันกับโลหะและอิเล็กโทรไลต์ ตามลำดับ ในงานวิจัยนี้กระดาษกรองไม่เพียงแค่ทำหน้าที่เป็นตัวรองรับปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่เป็นสะพานเกลือให้กับสารละลายอิเล็กโทรไลต์อีกด้วย สำหรับการดำเนินการวิจัยทางการศึกษา กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 35 คน โรงเรียนนาหนองทุ่มวิทยา อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 การออกแบบการวิจัยเป็นแบบกลุ่มเดียวก่อนสอบและหลังสอบ เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียน ได้แก่ ข้อสอบวัดความเข้าใจชนิดตัวเลือกสี่ลำดับขั้น แผนผังตัวยู และแบบสอบถามความพึงพอใจ ผลการวิจัยพบว่า จากข้อสอบวัดความเข้าใจชนิดตัวเลือกสี่ลำดับขั้น นักเรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับเซลล์กัลป์วานิก หลังเรียน (เฉลี่ย 8.57) สูงกว่าก่อนเรียน (เฉลี่ย 3.77) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากแผนผังตัวยู นักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับดีมาก (เฉลี่ย > 3.50) จากแบบสอบถามความพึงพอใจนักเรียนยังมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด ดังนั้น งานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่าการเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติจริงในเซลล์กัลวานิกด้วยชุดการทดลองที่ประยุกต์มาจากกระดาษสามารถช่วยการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจของนักเรียนในวิชาเคมีได้เป็นอย่างดี |
Title Alternate | Hands-on learning of galvanic cells using paper-based devices for enhancing students understanding in chemistry |