การเปรียบเทียบคุณลักษณะการทำงานและสมรรถนะของอุปกรณ์ดักฝุ่นแบบเปียกชนิดอีเจ็คเตอร์กับชนิดคอคอด

Titleการเปรียบเทียบคุณลักษณะการทำงานและสมรรถนะของอุปกรณ์ดักฝุ่นแบบเปียกชนิดอีเจ็คเตอร์กับชนิดคอคอด
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2558
Authorsอิทธิพล กุลวงศ์
Degreeวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTD อ727ก 2558
Keywordsฝุ่น--เครื่องมือและอุปกรณ์--การออกแบบ, สมรรถนะของอุปกรณ์ดักฝุ่น, เครื่องดักจับฝุ่น
Abstract

วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบคุณลักษณะการทำงานและสมรรถนะการทำงานและสมรรถนะของอุปกรณ์ดักฝุ่นแบบเปียกชนิดอีเจ็คเตอร์กับชนิดคอคอดในระบบแก๊สซิฟิเคชั่น ขนาด 200 kWth ใช้เตาแบบ Double throat downdraft gasifier ใช้น้ำเป็นตัวกลางในการดักจับฝุ่น น้ำมันดิบและสารปนเปื้อน โดยอุปกรณ์ดักฝุ่นทั้ง 2 แบบ จะทำงานที่ช่วงความดันน้ำฉีดที่เหมาะสมสำหรับอุปกรณ์เอง ใช้ปั๊มน้ำแบบ Multi stage centrifugal pump ในการจ่ายน้ำในช่วงอัตราการไหล 7-45 ลิตรต่อนาที โดยควบคุมอุณหภูมิน้ำให้อยู่ที่ 30 องศาเซลเซียส ช่วงความดันน้ำฉีดของอุปกรณ์ดักฝุ่นแบบเปียกชนิดอีเจ็คเตอร์และชนิดคอคอด คือ 1-6 bar และ 0.25-1.00 bar ตามลำดับ จากผลการทดลองพบว่า ประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่นของอุปกรณ์ดักฝุ่น มีแนวโน้มแปรผกผันกับความดันน้ำฉีด โดยมีประสิทธิภาพสูงสุดร้อยละ 46.7 ที่ความดันน้ำฉีด 1 bar สำหรับอุปกรณ์ชนิดอีเจ็คเตอร์ และร้อยละ 88.5 ที่ความดันน้ำฉีด 0.25 bar สำหรับอุปกรณ์ชนิดคอคอด มีแนวโน้มแปรผกผันกับความดันน้ำฉีดเช่นเดียวกันกับประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่น โดยมีประสิทธิภาพสูงสุดร้อยละ 57.2 ที่ความดันน้ำฉีด 1 bar และร้อยละ 70.5 ที่ความดันน้ำฉีด 0.25 bar ตามลำดับ ในส่วนของความดันตกคร่อมนั้น อุปกรณ์ดักฝุ่นชนิดอีเจ็คเตอร์แปรผกผันกับความดันน้ำที่หัวฉีด ส่วนอุปกรณ์ดักฝุ่นชนิดคอคอดแปรผันตามความดันน้ำที่หัวฉีด โดยความดันตกคร่อมต่ำสุดของอุปกรณ์ทั้ง 2 แบบ คือ 8 Pa ที่ความดันน้ำฉีด 6 bar และ 73 Pa ที่ความดันน้ำฉีด 0.25 bar ตามลำดับ และเมื่อคิดปริมาณฝุ่น น้ำมันดอนและสารปนเปื้อนที่อุปกรณ์ดักฝุ่นทั้ง 2 แบบ ดักจับได้ต่อพลังงานที่ใช้ พบว่า อุปกรณ์ดักฝุ่นชนิดคอคอดมีค่าความสามารถดักจับฝุ่น น้ำมันดินและสารปนเปื้อนต่อพลังงานสูงกว่า หรือใช้พลังงานน้อยกว่าในการดักจับฝุ่นน้ำมันดินและสารปนเปื้อนที่ปริมาณเท่ากัน จากการศึกษานี้สรุปได้ว่า อุปกรณ์ดักชนิดอีเจ็คเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่มีความดันตกคร่อมในอุปกรณ์น้อย แต่ใช้พลังงานสูง และให้ประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่น น้ำมันดินและสารปนเปื้อนต่ำ เนื่องจากพื้นที่ในการสัมผัสกันของน้ำกับกระแสก๊าซน้อย และเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่วนอุปกรณ์ดักฝุ่นชนิดคอคอดถึงแม้เป็นอุปกรณ์ที่มีความดันตกคร่อมในอุปกรณ์สูงกว่า แต่ใช้พลังงานน้อย และให้ประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่น น้ำมันดินและสารปนเปื้อนที่สูงกว่าโดยประสิทธิภาพการดักจับฝุ่นและความดันตกคร่อมของอุปกรณ์ดักฝุ่นชนิดคอคอด มีความสอดคล้องกันกับงานวิจัยที่ผ่านมา ส่วนการเพิ่มอัตราส่วนน้ำต่ออัตราการไหลของก๊าซในอุปกรณ์ที่มากนั้นไม่มีผลต่อประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่น ในขณะที่การสเปรย์น้ำฉีดที่ดีหรือเป็นละอองขนาดเล็ก จะให้ประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่นที่สูงกว่า

Title Alternate Comparison of the characteristic and performance of ejector venturi scrubber and the venturi scrubber