แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของกระบวนการพรีคอนดิชั่นนิ่งในเส้นเอ็นข้อต่อ

Titleแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของกระบวนการพรีคอนดิชั่นนิ่งในเส้นเอ็นข้อต่อ
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2558
Authorsเกษมสันต์ เพชรสุวรรณรังษี
Degreeวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberQA ก813บ 2558
Keywordsกระบวนการพรีคอนดิชั่นนิ่ง, เส้นเอ็นข้อต่อ--แบบจำลองทางคณิตศาสตร์, แบบจำลองทางคณิตศาสตร์
Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างองค์ความรู้และความเข้าใจต่อพฤติกรรมทางโครงสร้างของเส้นเอ็นข้อต่อภายใต้กระบวนการพรีคอนดิชั่นนิ่งโดยงานวิจัยนี้ได้พัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่ออธิบายพฤติกรรมเชิงกลของกระบวนการพรีคอนดิชั่นและการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างที่เกิดขึ้นขณะเกิดกระบวนการพรีคอนดิชันนิ่ง โดยตัวแปรในแบบจำลองที่สร้างขึ้นมีความสัมพันธ์โดยตรงกับสมบัติและพฤติกรรมเชิงกลของโครงสร้างภายในของเส้นเอ็นต่ออันนำไปสู่ความสามารถในการออกแบบรูปแบบของการพรีคอนดิชั่นนิ่งในอนาคตได้
จากการประมวลผลการคำนวณจากแบบจำลองที่สร้างขึ้นพบว่า แบบจำลองสามารถแสดงลักษณะการลดลงของความเค้นสูงสุดของแต่ละรอบการให้แรงขณะพรีคอนดิชั่นนิ่งได้ในลักษณะเดียวกันกับผลการทดลอง ซึ่งสัมพันธ์กับลักษณะการลดลงของค่ามอดูลัสความยืดหยุ่นของตัวเชื่อมต่อระหว่างไฟเบอร์กับเมทริกซ์ (Ec) ค่ามอดูลัสความยืดหยุ่นของไฟเบอร์ (Ef) และค่ามอดูลัสความยืดหยุ่นของเมทริกซ์ (Em) โดยจำนวนรอบของการพรีคอนดิชั่นนิ่งที่สมบูรณ์คือจำนวนรอบที่ค่า Ec เริ่มมีค่าเป็นศูนย์ ในขณะที่ค่า Ef และค่า Em เร่ิมมีค่าคงที่ จากสมมติฐานของแบบจำลองในงานวิจัยนี้มีค่าเป็นศูนย์ ในขณะที่ค่า Ef และค่า Em เริ่มมีค่าคงที่ จากสมมติฐานของแบบจำลองในงานวิจัยนี้จึงสามารถอธิบายได้ว่า การลดลงของค่าความเค้นสูงสุด ค่า Ec ค่า Ef และ ค่า Em ในช่วงการให้แรงวงรอบแรก ๆ เกิดขึ้นเนื่องจากการขาดออกจากกันของตัวเชื่อมต่อระหว่างไฟเบอร์กับเมทริกซ์เนื่องจากเป็นการลดลงอย่างรวดเร็ว ในขณะที่การลดลงของค่าความเค้นสูงสุด ค่า Ec ค่า Ef และค่า Em ในช่วงการให้แรงของวงรอบแรก ๆ เกิดขึ้นเนื่องจากการขาดออกจากกันของตัวเชื่อมต่อระหว่างไฟเบอร์กับเมทริกซ์ เนื่องจากเป็นการลดลงอย่างรวดเร็ว ในขณะที่การลดลงของค่าความเค้นสูงสุด ค่า Ec ค่า Ef และ ค่า Em ในช่วงการให้แรงของวงรอบต่อ ๆ มาจนกระทั่งเกิดการพรีคอนดิชั่นนิ่งที่สมบูรณ์นั้นเกิดขึ้นเนื่องจากการสูญเสียเนื่องจากแรงเสียดทานระหว่างไฟเบอร์กับเมทริกซ์ ดังแสดงให้เห็นจากการค่อย ๆ ลดลงอย่างช้า ๆ ของค่าตัวแปรเหล่านี้จนกระทั่งเข้าสู่สมดุลในที่สุด ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยนี้สามารถใช้เป็นความรู้พื้นฐานในการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่สามารถประมาณจำนวนรอบการให้แรงเพื่อให้เกิดการพรีคอนดิชั่นนิ่งที่สมบูรณ์ได้

Title Alternate A mathematical model for preconditioning process in ligament and tendons