การพัฒนาตำรับมาส์กหน้าแบบลอกออกจากไคโตซานและพอลิไวนิลแอลกอฮอล์ที่ผสมผสานสกัดหยาบบัวบก

Titleการพัฒนาตำรับมาส์กหน้าแบบลอกออกจากไคโตซานและพอลิไวนิลแอลกอฮอล์ที่ผสมผสานสกัดหยาบบัวบก
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2558
Authorsชมพูนุท เวชชากุล
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาเภสัชเคมีและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ
Institutionคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberRL ช172ก 2558
Keywordsการรักษาด้วยสมุนไพร, บัวบก--การใช้รักษา, โพลิไวนิลแอลกอฮอล์, ไคโตแซน
Abstract

การมาส์กหน้าเป็นวิธีการฟื้นฟูสุขภาพผิวที่มีประสิทธิภาพ ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์มาส์กหน้าแบบลอกออกเป็นที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายเนื่องจากใช้งาน มีความสามารถขจัดเซลล์ที่ตายแล้วออกและไม่เกิดสิวอุดตัน การนำสารสกัดจากสมุนไพรผสมลงในตำรับมาส์กหน้าแบบลอกออกที่ประกอบด้วยพอลิเมอร์จากธรรมชาติและพอลิเมอร์สังเคราะห์ นับเป็นการส่งเสริมการใช้และเพิ่มมูลค่าของสมุนไพรในด้านเครื่องสำอางมากขึ้น ซึ่งบัวบกเป็นหนึ่งในสมุนไพรที่กระทรวงสาธารณสุขสนับสนุนให้ใช้ในโรงพยาบาลและการแพทย์แผนไทย เนื่องจากเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพมากมาย จึงมีการใช้ทั้งในด้านการแพทย์และความงาม ดังนั้นงานวิจัยจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตำรับมาส์กหน้าแบบลอกออกที่ผสมสารสกัดหยาบบัวบกให้มีคุณสมบัติทางกายภาพ เคมีและเชิงกลที่เหมาะสม โดยศึกษาปริมาณสารสำคัญ ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน ความเป็นพิษต่อเซลล์ และฤทธิ์กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนของสารสกัดหยาบบัวบก จากแหล่งเพาะปลูกอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ผลการทดลองพบว่า มีปริมาณเอเชียติโคไซด์ มาเดแคสโซไซด์ และกรดเอเชียติก เท่ากับ 34.37, 4.17 และ 2.98 มิลลิกรัมต่อกรัมของสารสกัดหยาบบัวบก ตามลำดับ ไม่พบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ชนิด S.aureus และ E.coli แต่สามารถต้านเชื้อแบคทีเรีย ชนิด P.acnes ได้ โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ P.acnes เท่ากับ 21.88 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร และค่าความเข้มข้นต่ำที่สุดที่สามารถฆ่าเชื้อ P.acnes เท่ากับ 700 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร สารสกัดหยาบบัวบกมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวม 20.520.57 มิลลิกรัมสมมูลของกรดแกลลิกต่อสารสกัด 1 กรัม ฤทธิ์ต้านออกซิเดชันเมื่อทดสอบโดยวิธี DPPH, ABTS และ FRAP มีค่า 42.141.53 มิลลิกรัมสมมูลของ Trolox ต่อสารสกัด 1 กรัม, 12.810.91 มิลลิกรัมสมมูลของวิตามินซีต่อสารสกัด 1 กรัม และ 0.650.04 โมลของเฟอร์รัสซัลเฟตต่อสารสกัด 1 กรัม ตามลำดับ ตำรับมาส์กหน้าแบบลอกออกประกอบด้วยไคโตซาน ร้อยละ 2 EDTA ร้อยละ 1 PVA ร้อยละ 1.42 PVMMA ร้อยละ 0.05 กลีเซอริน ร้อยละ 2.74 แอลกอฮอล์ ร้อยละ 10 และสารสกัดบัวบก ร้อยละ 5 โดยน้ำหนักมีคุณสมบัติทางกายภาพเหมาะสม คือมีค่าความเป็นกรดด่าง 4.970.06 ระยะเวลาในการแห้งของแผ่นฟิล์ม 19.331.15 นาที และค่าความหนืด 894.57149.88 เซนติพอยส์ มีคุณสมบัติเชิงกลที่ดี คือ มีความทนแรงดึง 0.570.06 นิวตันต่อตารางมิลลิเมตร ร้อยละการยืดของชิ้นทดสอบที่จุดขาด 166.770.00 และแรงที่ใช้ในการลอกออกของแผ่นฟิล์ม 0.0020.0005 นิวตันต่อตารางมิลลิเมตร ที่เวลา 30 นาที และ 24 ชั่วโมง สามารถปลดปล่อยเอเชียติโคไซด์ได้ร้อยละ 24.610.56 และ 107.1310.70 ตามลำดับ เมื่อทดสอบในหลอดทดลองที่อุณหภูมิ 352 องศาเซลเซียส สารสกัดหยาบบัวบกไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ แต่มีฤทธิ์กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน เมื่อทดสอบความคงสภาพในสภาวะเร่ง พบว่า สภาวะการเก็บที่อุณหภูมิสูงและระยะเวลานาน มีผลต่อคุณสมบัติทางกายภาพและเชิงกลของตำรับ แต่ปริมาณเอเชียติโคไซด์และมาเดแคสโซไซด์ในตำรับลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับที่เวลาเริ่มต้น และควรเก็บตำรับที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ดังนั้นตำรับมาส์กหน้าแบบลอกออกจากไคโตซานและพอลิไวนิลแอลกอฮอล์ที่ผสมสารสกัดหยาบบัวบก มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน มีฤทธิ์กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและไม่ทำให้เกิดพิษต่อเซลล์

Title Alternate Development of facial peel off mask from chitosan and polyvinyl alcohol containing Centella asiatica (L.) urban crude extract