การปรับเปลี่ยนบทบาทสมมติเทวราชหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475

Titleการปรับเปลี่ยนบทบาทสมมติเทวราชหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2558
Authorsณัฏฐกรณ์ คำลุน
Degreeรัฐศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาการปกครอง
Institutionคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberJQ ณ311ก 2558
Keywords2475, การปกครองของไทย, การเปลี่ยนแปลงการปกครอง, การเมืองและการปกครองไทย, บทบาททางสังคม, สถาบันพระมหากษัตริย์, สมมติเทวราช, ไทย--การเมืองและการปกครอง--กรุงรัตนโกสินทร์
Abstract

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาการปรับเปลี่ยนบทบาทสมมติเทวราชหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ พ.ศ. 2507 โดยใช้แนวคิดวัฒนธรรมการเมืองอุดมการณ์สมมติเทวราช และอนกชนนิกรสโมสรสมมติ อำนาจบารมี และบทบาท
ในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 สถาบันพระมหากษัตริย์ได้ถูกจำกัดบทบาทฐานะและอำนาจทางการเมืองที่เป็นทางการไว้ภายใต้รัฐธรรมนูญ ต่อมาสถาบันพระมหากษัตริย์ได้ปรับเปลี่ยนบทบาทใหม่ภายใต้รัฐธรรมนูญตามอุดมการณ์สมมติเทวราช คือ พระกรุณา พระเดชพระคุณ ซึ่งเป็นอุดมการณ์ดั้งเดิมของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย ดังนี้
(1) พระกรุณา ในฐานะพระอินทร์ผู้ปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนา และผู้ให้ความยุติธรรมแก่ราษฎรในส่วนของการคุ้มครองพระพุทธศาสนานั้น แบ่งออกเป็นสองอย่างคือ เอกอัครศาสนูปถัมภกและพุทธมามกะ ด้านให้ความยุติธรรมนั้นสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่มีส่วนในเรื่องนี้อย่างเป็นทางการ
(2) พระเดช ในฐานะพระนารายณ์ ผู้ปกครองอาณาจักรจากการรุกราน ในด้านนี้เปลี่ยนเป็นประมุขของรัฐภายใต้รัฐธรรมนูญ ในส่วนของการป้องกันอาณาจักรเป็นจอมทัพไทนในเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น
(3) พระคุณ ในฐานะพระเสื้อเมือง ผู้อำนวยความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ราษฎรในอาณาจักรเปลี่ยนเป็นบทบาทนักสังคมสงเคราะห์ นักการสื่อสารสมัยใหม่ ทั้งนี้ในส่วนของพิธีกรรมด้านความอุดมสมบูรณ์ทางการเกษตร สะท้อนออกมาในรูปแบบพิธีกรรมเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น
บทบาทด้านสังคมสงเคราะห์ทำให้พระบารมีและพระบรมเดชานุภาพของสถาบันพระมหากษัตริย์เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ประกับกับการสนับสนุนของกลุ่มการเมือง ทหาร ที่ต่อมาได้เป็นพันธมิตรกันในทางการเมือง ทั้งนี้บารมีและพระบรมเดชานุภาพของสถาบันพระมหากษัตริย์ได้เพิ่มมากขึ้นในช่วงรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม พ.ศ.2493-2500 เห็นได้จากการที่ทรงแสดงออกทางการเมืองได้อย่างเปิดเผย และจอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ ได้ใช้สร้างความชอบธรรมในการรัฐประหารรัฐบาลหลวงพิบูลสงคราม พ.ศ. 2500 รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ได้ประกาศชัดว่า เป็นรัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และได้สนับสนุนสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างเต็มความสามารถด้วยการเพิ่มบทบาทพระราชกรณียกิจทางการเมืองให้มากขึ้น พร้อมกันนั้นได้ฟื้นฟูพระราชพิธีต่าง ๆ ขึ้นมาใหม่อย่างเป็นทางการ

Title Alternate The change of the role of Sammati Deva-Raja after the 1932 revolution