Title | ความก้าวหน้าทางการเรียนและมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง โมล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยวัฏจักรการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้น ผสมผสานกับเทคนิคกลุ่มแข่งขันในขั้นประเมินผล |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2558 |
Authors | ณัฐริกา ผายเมืองฮุง |
Degree | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา |
Institution | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | QD ณ351ค 2558 |
Keywords | การสอนวิทยาศาสตร์, การเรียนรู้แบบสืบเสาะ, มโนมติทางวิทยาศาสตร์, วิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา), เคมี--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา), เทคนิคกลุ่มแข่งขัน, โมล--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) |
Abstract | งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนแบบรายชั้นเรียน แบบรายบุคคล แบบรายเนื้อหา แบบรายข้อและสำรวจความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง โมล ของนักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้ด้วยวัฏจักรการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้น ผสมผสานกับเทคนิคกลุ่มแข่งขันในขั้นประเมินผลกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสว่างแดนดิน จำนวน 45 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวัฏจักรการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้นผสมผสานกับเทคนิคกลุ่มแข่งขัน และแบบทดสอบแบบปรนัยชนิดตัวเลือกสองลำดับขั้น จำนวน 40 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระต่อกัน และความก้าวหน้าทางการเรียน ผลการวิจัย พบว่า การจัดการเรียนรู้ด้วยวัฏจักรการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้นผสมผสานกับเทคนิคกลุ่มแข่งขันในขั้นประเมินผล ทำให้ความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียนทั้งระดับชั้นตามทฤษฎีของ Hake อยู่ในระดับสูง ค่าจีเท่ากับ 0.85 นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนอยู่ในระดับสูงคิดเป็นร้อยละ 73.33 โดยเรื่องจำนวนโมลกับมวลของสารเป็นเนื้อหาที่มีความก้าวหน้าทางการเรียนมากที่สุด เท่ากับ 0.75 ส่วนเรื่องปริมาตรต่อโมลของแก๊สมีความก้าวหน้าทางการเรียนน้อยที่สุดเท่ากับ 0.50 สำหรับความก้าวหน้าทางการเรียนแบบรายข้อ คำถามข้อที่มีความก้าวหน้าทางการเรียนมากที่สุดและน้อยที่สุด เท่ากับ 0.88 และ 0.11 ซึ่งคำถามทั้ง 2 ข้อเป็นการแก้โจทย์ปัญหาเรื่องปริมาตรต่อโมลของแก๊ส จากการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระต่อกัน พบว่า นักเรียนมีคะแนนมโนมติทางวิทยาศาสตร์หลังเรียน (ค่าเฉลี่ย=64.42) สูงกว่าก่อนเรียน (ค่าเฉลี่ย = 23.78) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p 0.05 นักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้ด้วยวัฏจักรการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้นผสมผสานกับเทคนิคกลุ่มแข่งขันในขั้นประเมินผลมีมโนมติทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนถูกต้องเพิ่มมากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 74.42 โดยเนื้อหาที่มีมโนมติทางวิทยาศาสตร์ถูกต้องมากที่สุดคือ ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนโมล อนุภาค มวล และปริมาตรของแก๊ส คิดเป็นร้อยละ 79.78 และมีมโนมติคาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นหลังเรียนมากที่สุด คือ การแก้สมการและการแทนค่าในสูตร คิดเป็นร้อยละ 25.88 |
Title Alternate | Learing gain and scientific conceptual understanding on moles of grade 10 students learning through 5E inquiry cycle incorporated with teams-games-tournaments in evaluation step |