การศึกษาวัสดุพื้นถิ่นอีสานเพื่อสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ด้วยเทคนิคการฝังลวดลาย

Titleการศึกษาวัสดุพื้นถิ่นอีสานเพื่อสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ด้วยเทคนิคการฝังลวดลาย
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2555
Authorsนริศรา สารีบุตร
Degreeศิลปประยุกต์ศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาการออแบบผลิตภัณฑ์
Institutionคณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberNK น253ก 2555
Keywordsการฝังลวดลาย, การออกแบบผลิตภัณฑ์, การออกแบบเครื่องเรือน, วัสดุพื้นถิ่น, ศิลปหัตถกรรม--ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), หัตถกรรม--การออกแบบ
Abstract

งานฝังลวดลายเป็นงานที่มีมานานไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนในความเป็นมาแต่มีการสร้างสรรค์ในงานผลิตภัณฑ์ชั้นสูง ซึ่งการนำเสนอในกระบวนการสร้างสรรค์ชิ้นงานฝังลวดลายในครั้งนี้เป็นการสรรหาวัสดุที่มีในท้องถิ่นมาเป็นทางเลือกเพิ่มมากขึ้นจากวัสดุที่ใช้ฝังลงดลายในครั้งนี้เป็นการสรรหาวัสดุที่มีในท้องถิ่นมาเป็นทางเลือกเพิ่มมากขึ้นจากวัสดุที่ใช้ฝังลวดลายเดิมที่มีอยู่ คือ กระดูกสัตว์ ในปัจจุบันช่างฝีมือการฝังลลวดลายยังคงเหลือมีแต่คนรุ่นเก่า เช่น คุณตาเสถียร บุตรน้อย ช่างฝีมือกลุ่มงานหัตถกรรมบ้านดอนขวาง อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี ที่ยังคงสร้างสรรค์งานฝังลวดลายแบบดั้งเดิม ก่อให้เกิดปัญหาด้านการพัฒนารูปแบบงานฝังลวดลายและรูปแบบผลิตภัณฑ์โดยที่ทำการผลิตอยู่ในปัจจุบันมีเพียงเชี่ยนหมาก พานหมากเบ็ง ขันโตก เท่านั้น ถึงแม้ว่าสินค้าเหล่านี้มีราคาสูงและผู้บริโภคมีความพึงพอใจก็จริงแต่ในทางปัจจุบันมีการแข่งขันทางด้านแนวคิดมากมายทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น ดังนั้น การทำวิจัยจึงมีวัตถุประสงค์ในการนำกระบวนการฝังลวดลายในอดีตมาพัฒนาประกอบรูแบบให้เหมาะกับข้อมูลผลิตภัณฑ์ทางการตลาดในปัจจุบัน โดยสรรหาวัสดุที่หาได้ง่ายและใกล้เคียงกับกระดูกสัตว์ที่เป็นวัสดุเดิมอย่างเช่น เปลือกไข่ที่มีในท้องถิ่นทุกท้องถิ่น เป็นการเพิ่มทางเลือกเกี่ยวกับวัสดุ ร่วมกับการออกแบบต้นแบบงานฝังลวดลายออกสู่ตลาดปัจจุบัน ในการวิจัยครั้งนี้ได้ผลการทดลองวัสดุและกระบวนการผลิตออกเป็นแนวทาง ได้แก่การฝังและการถมลวดลาย
การสร้างต้นแบบด้วยวิธีการฝังและการถมลวดลาย ออกแบบผลิตภัณฑ์ด้วย โดยใช้วัสดุใหม่ คือ เปลือกไข่ซึ่งต้องเลือกขนาดให้เหมาะสมกับตัวผลิตภัณฑ์ชิ้นงาน ตรงตามจุดประสงค์ของการวิจัย การใช้เปลือกไข่เหมาะแก่การฝังบนวัสดุไม้เท่านั้น และเหมาะที่จะออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์ของใช้และของที่ระลึกที่มีลักษณะนูนต่ำ นูนสูง และงานลอยตัวเป็นต้นของการวิจัยเหมาะแก่การฝังบนวัสดุไม้เท่านั้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ของใช้และของที่ระลึกที่มีลักษณะนูนต่ำ นูนสูง และงานลอยตัว เป็นต้น
จากการวิจัยได้มีการทดลองการฝังลวดลายและการถามลวดลาย อย่างละ 4 กรรมวิธี จากการทดลองออกแบบผลิตภัณฑ์ พบว่า กระบวนการฝังลวดลายควรได้รับการพัฒนา 3 ด้าน ดังนี้
(1) ด้านวัสดุ ควรมีการประยุกต์ใช้กับวัสดุพื้นถิ่นนั้น ๆ โดยเฉพาะวัสดุเหลือใช้ทั่วไปในพื้นที่ยังมีอีกมากที่สามารถยังรอการนำมาศึกษาวิจัยให้เป็นระบบ
(2) ด้านกระบวนการผลิต ควรมีกระบวนการผลิตที่มีความง่ายไม่ซับซ้อนรวมถึงการใช้วัสดุอื่น ๆ ประกอบวัสดุนี้ควรหาง่ายในท้องถิ่นและตามท้องตลาดในปัจจุบัน
(3) ด้านรูปแบบผลิตภัณฑ์ ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องรูปบบของวัสดุพื้นถิ่นซึ่งในปัจจุบันกลุ่มชุมชนพื้นถิ่นมีความรู้ความสามารถในการสร้างสรรค์ในกระบวนการผลิตได้เป็นอย่างดียิ่งแต่ยังขาดการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย

Title Alternate A study of Isan local materials for creating product prototypes with inlay techniques