Abstract | การศึกษาความหลากหลายของชนิดปลาและดัชนีความสมบูรณ์ของพื้นที่ชุ่มน้ำหนองหาร จังหวัดสกลนคร ดำเนินการในพื้นที่ชุ่มน้ำหนองหารด้วยชุดเครื่องมือข่ายจำนวน 10 จุดสำรวจทำการเก็บตัวอย่างจุดสำรวจละ 3 ซ้ำ ทุก 3 เดือน เป็นเวลา 1 ปี ระหว่างเดือนมีนาคม 2554 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2555 พบชนิดความหลากหลายและประชาคมของปลาในพื้นที่ชุ่มน้ำหนองหารจากจำนวนปลาทั้งหมด 16,073 ตัว 52 ชนิด จาก 16 วงศ์ (Family) พบครอบครัวปลาตะเพียนมากที่สุดรวม 23 ชนิด คิดเป็นร้อยละ 44.23 รองลงมาเป็นครอบครัวปลาดุกพบ 4 ชนิด คิดเป็นร้อยละ 7.69 ค่าร้อยละของโอกาสในการพบปลาแต่ละชนิดตามสถานีและเดือนสำรวจที่มีความถี่พบเป็นประจำมากกว่าร้อยละ 80 มี 22 ชนิด ความชุกชุมโดยชนิดพันธุ์ปลา พบว่า องค์ประกอบโครงสร้างชนิดปลาโดยน้ำหนักที่ร้อยละสะสมประมาณ 80 พบปลาตะเพียนทรายเป็นชนิดที่มีสัดส่วนโดยน้ำหนักมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 14.81 ของน้ำหนักปลาที่พบทั้งหมด และองค์ประกอบโครงสร้างชนิดปลาโดยจำนวนที่ร้อยละสะสมประมาณ 80 พบปลาแป้นแก้วเป็นชนิดที่มีสัดส่วนโดยจำนวนสูงสุดคิดเป็นร้อยละ 46.27 โครงสร้างกลุ่มปลาตามชนิดพบกลุ่มปลาเกล็ด กลุ่มปลาหนัง กลุ่มปลากินเนื้อ และกลุ่มปลาอื่น ๆ คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 44.23, 15.39, 3.85 และ 36.54 ตามลำดับ ค่าดัชนีความมากชนิดของปลามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.65±0.44 ค่าดัชนีความเท่าเทียมที่แสดงการกระจายของชนิดปลามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.84±0.02 และค่าดัชนีความหลากหลายมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.91±0.07
ความผันแปรเชิงพื้นที่และฤดูกาลต่อความชุกชุมและความหลากชนิดของพันธุ์ปลาในพื้นที่ชุ่มน้ำหนองหาร ตามการเปลี่ยนแปลงทางอุทกวิทยาใน 3 บริเวณ (ตอนบน ตอนกลาง และตอนล่าง) พบความชุกชุมของชนิดพันธุ์ปลาในแต่ละสถานี และฤดูกาลไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) และความหลากชนิดของพันธุ์ปลาในแต่ละสถานีไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) แต่เมื่อเปรียบเทียบฤดูกาลมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยช่วงเวลาปรับเปลี่ยนฤดูผลสู่แล้ง (T3) แตกต่างกับช่วงเวลาฤดูแล้ง (T4) และช่วงเวลาปรับเปลี่ยนจากฤดูแล้งสู่ฝน (T1) เมื่อทำการจัดกลุ่มความคล้ายคลึงของการสำรวจสามารถแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม ตามองค์ประกอบชนิดและปริมาณพันธุ์ปลาที่พบ และการจัดกลุ่มพันธุ์ปลาชนิดเด่นที่พบในแต่ละฤดูกาลและพื้นที่สามารถจำแนกออกได้เป็น 4 กลุ่ม โดยการปรากฏอยู่ของชนิดปลากลุ่มที่ 1 จำนวน 14 ชนิด มีความสัมพันธ์แบบผันแปรตรงกับค่าคลอโรฟิล เอ และค่าความกระด้าง กลุ่มที่ 2 จำนวน 14 ชนิด มีความสัมพันธ์แบบผันตรงกับค่าคลอโรฟิล เอ และค่าความกระด้าง กลุ่มที่ 2 จำนวน 14 ชนิด มีความสัมพันธ์แบบผันตรงกับค่าแณหภูมิของน้ำ และค่าความเป็นด่าง กลุ่มที่ 3 จำนวน 16 ชนิด มีความสัมพันธ์แบบแปรผันตรงกับค่าออกซิเจนที่ละลายในน้ำและค่าความเป็นกรดเป็นด่าง ส่วนกลุ่มที่ 4 จำนวน 5 ชนิด เป็นกลุ่มปลาที่มีความสัมพันธ์แบบแปรผันกับค่าคลอโรฟิล เอ และค่าความกระด้าง เมื่อทำการจัดกลุ่มความคล้ายคลึงของการสำรวจสามารถแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม ตามองค์ประกอบชนิดและปริมาณพันธุ์ปลาที่พบและการจัดกลุ่มพันธุ์ปลาชนิดที่พบในแต่ละฤดูกาลและพื้นที่สามารถจำแนกออกได้เป็น 4 กลุ่ม โดยการปรากฏอยู่ของชนิดปลาทั้ง 4 กลุ่ม มีความสัมพันธ์กับค่าคุณภาพน้ำ ความผันแปรเชิงพื้นที่และฤดูกาลต่อความชุกชุมและความหลากชนิดของพันธุ์ปลา เป็นผลจากคุณลักษณะทางธรณีสัณฐานของแหล่งน้ำ อาทิ ระดับน้ำ ปริมาณน้ำไหลเข้าและพฤติกรรมการกินอาหารของปลาแต่ละชนิด รูปแบบของการเปลี่ยนแปลงของประชาคมปลาในพื้นที่ชุ่มน้ำหนองหาร ดังกล่าว จึงมีความสำคัญต่อการกำหนดนโยบายบริหารจัดการ และวางแผนอนุรักษ์
หนองหารเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยมีอาณาเขตตั้งอยู่ในจังหวัดสกลนคร โดยถูกจัดให้เป็นหนึ่งในที่ชุ่มน้ำที่สำคัญระดับนานาชาติ ทะเลสาบหนองหารได้ถูกใช้ประโยชน์ในรูปลักษณะและกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์มาอย่างนาวนานความจำเป็นที่ต้องรักษา ฟื้นฟูและส่งเสริมการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนจึงถือว่าเป็นภารกิจที่สำคัญของชาติ งานวิจัยนี้ได้ประยุกต์ใช้ดัชนีความสมบูรณ์ทางชีวภาพเพื่อประเมินสุขภาวะของหนองหารในการรองรับประชาคมปลา ดัชนีความสมบูรณ์ทางชีวภาพคำนวณจากการบูรณาการค่าคะแนนของกลุ่มตัวแปรทางชีวภาพหรือเมทริก จำนวน 12 เมทริก ที่เป็นองค์ประกอบหลัก 4 กลุ่มตามคุณลักษณะและบทบาทในระบบนิเวศแหล่งน้ำ ได้แก่ ความชุกชุมของชนิดปลา กลุ่มปลาที่แสดงความหลากหลายของแหล่งอาศัย ข้อมูลชนิดและปริมาณปลาที่ใช้มาจากการดำเนินการสำรวจด้วยชุดเครื่องมือข่าย 7 ขนาดช่องตา (20, 30, 40, 55, 70, 90 และ 120 มิลลิเมตร) จไนวน 10 สถานี ในบริเวณเขตต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ตั้งแต่เดือนมานาคมถึงเดือนพฤศจิกายน 2554 โดยสุ่มตัวอย่างตามการเปลี่ยนแปลงทางอุทกวิทยาของอ่างเก็บน้ำ 4 ช่วงเวลา การกำหนดสภาวะอ้างอิงของตัวแปรชีวภาพ โดยใช้ข้อมูลที่มีการศึกษาประชากรปลาในหนองหารตั้งแต่อดีต ตั้งแต่ปี 2511-2553 และการสอบถามผู้เชี่ยวชาญ เป็นพื้นฐานของการเปรียบเทียบอ้างอิง รวมทั้งใช้ข้อมูลผลการสำรวจของการศึกษาครั้งนี้มาเป็นส่วนประกอบร่วมกัน ส่วนเกณฑ์กำหนดคะแนนของแต่ละเมทริกนั้นใช้ระบบ 5-3-1 ผลของการคำนวณพบว่า ค่าดัชนีความสมบูรณ์ทางชีวภาพมีค่าสูงสุดพบในปี พ.ศ. 2552 เท่ากับ 40 คะแนน รองลงมาเป็นปี พ.ศ. 2554 2551 2553 และ 2550 มีค่าเท่ากับ 38 34 32 และ 24 คะแนน ตามลำดับ ซึ่งแสดงถึงสุขภาวะของหนองหารอยู่ในระดับต่ำในปี 2550 และอยู่ในระดับปานกลางในปี 2551-2554 ค่าดัชนี IBI ชุดนี้มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับชุดดัชนีคุณภาพน้ำ (WQI) อย่างมีนัยสำคัญ (r=0.84) ชี้ให้เห็นว่าค่าดัชนี IBI มีส่วนในการสะท้อนถึงผลของกิจกรรมของมนุษย์ดัชนีความสมบูรณ์ทางชีวภาพของประชาคมปลานี้ จึงสามารถประยุกต์และปรับใช้ สำหรับการวางแผนวิจัย และช่วยในการรักษาพื้นที่ชุ่มน้ำให้มีความเหมาะสม โดยต้องมีการพัฒนาต่อไปเพื่อสะท้อนความเป็นจริงของพื้นที่ให้ถูกต้องและมีความแม่นยำยิ่งขึ้น
|