Title | การใช้วิธีการวิวัฒนาการโดยใช้ผลต่างในการจัดสมดุลสายการประกอบแบบเส้นตรงประเภทที่ 1 กรณีที่พิจารณาจำนวนประเภทของเครื่องจักรที่ใช้ในแต่ละสถานีงาน |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2556 |
Authors | กนกกาญจน์ จิรศิริเลิศ |
Degree | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ |
Institution | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | TS ก124ก |
Keywords | การควบคุมการผลิต, การจัดสมดุลสายการผลิต--โปรแกรมคอมพิวเตอร์, การจัดสมดุลสายประกอบการ, การบริหารงานผลิต--โปรแกรมคอมพิวเตอร์, การวางแผนการผลิต, การวางแผนการผลิต--โปรแกรมคอมพิวเตอร์, สายการผลิต--โปรแกรมคอมพิวเตอร์ |
Abstract | งานวิจัยนี้ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้เรื่องเคมีอินทรีย์ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้พืชท้องถิ่นเป็นฐาน การจัดการเรียนรู้นี้ใช้ความรู้ของท้องถิ่นและประสบการณ์ในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในงานวิจัย อันประกอบด้วย 4 ขั้นตอนของการสอนได้แก่ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การค้นหา การนำเสนอและการสรุปผลการเรียนรู้ ขั้นตอนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กำหนดให้นักเรียนเล่าประสบการณ์ในการทำงานในสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน ครูเป็นผู้ตั้งคำถามในขั้นค้นหาเพื่อให้นักเรียนสืบค้นคำตอบของคำถามนั้น จากนั้นนักเรียนนำเสนอผลการสืบค้นและสรุปเป็นองค์ความรู้ กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนพ่วงพรมครวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษารวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ด้วย เขต 11 จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษารวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้พืชท้องถิ่นเป็นฐาน จำนวน 6 แผน แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนแบบประเมินพฤติกรรมและแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การประเมินความก้าวหน้าของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนอยู่ในระดับสูง 1 คน ระดับปานกลาง 9 คน ระดับต่ำ 3 คน โดยนักเรียนมีแนวคิดที่ไม่ถูกต้องมากที่สุดในเรื่องกรดอินทรีย์และเอสเทอร์คิดเป็นร้อยละ 46.15 และนักเรียนร้อยละ 73.96 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง |
Title Alternate | Using differential evolution algorithm to solve the simple assembly line balancing problems type 1 when number of types of machine used in each workstation is considered |