เส้นโค้งความเค้น-ความเครียดของคอนกรีตมวลเบาแบบเซลลูล่า

Titleเส้นโค้งความเค้น-ความเครียดของคอนกรีตมวลเบาแบบเซลลูล่า
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2557
Authorsจารุพันธ์ ไพพูลพิมพ์
Degreeวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTA จ332ส
Keywordsความเครียด, ความเค้น, คอนกรีต, คอนกรีตน้ำหนักเบา, คอนกรีตน้ำหนักเบา--การทดสอบ, คอนกรีตมวลเบาแบบเซลลูล่า
Abstract

คอนกรีตมวลเบาแบบเซลลูล่าเป็นคอนกรีตที่มีส่วนผสมของฟองอากาศ ซึ่งเกิดจากการเติมโฟมเหลวคงรูปที่กระจายตัวอย่างสม่ำเสมอในเนื้อคอนกรีตแทนการใช้หินหรือมวลรวมหยาบ ปริมาณฟองอากาศที่เติมเข้าไปมีผลต่อความหนาแน่นและคุณสมบัติพื้นฐานของคอนกรีตมวลเบาเซลลูล่า การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า คอนกรีตมวลเบาแบบเซลลูล่าสามารถพัฒนากำลังได้มากกว่า 180 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ซึ่งสามารถพัฒนาเพื่อนำไปใช้งานทางด้านโครงสร้างต่อไปได้ งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาเส้นโค้งความเค้น-ความเครียดของคอนกรีตมวลเบาแบบเซลลูล่าที่ความหนาแน่นเปียก 1,800 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยใช้อัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์เท่ากับ 0.40, 0.45, 0.50, 0.55, 0.60 และ 0.65 และอัตราส่วนทรายต่อซีเมนต์เท่ากับ 1:1, 2:1 และ 3:1 ใช้สูตรผสมจำนวนเก้าสูตร รวม 540 ตัวอย่าง โดยทดสอบแท่งตัวอย่างรูปทรงกระบอกมาตรฐาน ที่อายุ 28 และ 56 วัน พบว่า สามารถใช้สมการกำลังสองในการประมาณรูปทรงกระบอกมาตรฐาน ที่อายุ 28 และ 56 วัน พบว่าสามารถใช้สมการกำลังสองในการประมาณรูปร่างของเส้นโค้งความเค้น-ความเครียดของคอนกรีตมวลเบาแบบเซลลูล่า โดยความเครียดของคอนกรีตมวลเบาแบบเซลลูล่าที่จุดกำลังรับแสงอัดสูงสุดและจุดวิบัติค่าประมาณ 0.003 และ 0.004 ตามลำดับ และพบว่าอัตราส่วนผสมของทรายต่อซีเมนต์และอัตราส่วนผสมของน้ำต่อซีเมนค์มีผลต่อค่าความเค้นและความเครียดของคอนกรีตมวลเบาแบบเซลลูล่า โดยปริมาณน้ำที่มากขึ้นและปริมาณทรายที่มากขึ้นจะส่งผลให้ความเค้นและความเครียดมีค่าลดลง

Title Alternate Stress-strain curve of cellular lightweight concrete