การบำบัดน้ำเสียจากโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังด้วยกระบวนการเฟนตัน

Titleการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังด้วยกระบวนการเฟนตัน
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2557
Authorsณัฐพล พิมพ์พรมมา
Degreeวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTD ณ342ก
Keywordsกระบวนการเฟนตัน, การบำบัดน้ำเสีย, น้ำเสีย--การบำบัด, น้ำเสีย--การบำบัด--การเติมอากาศ, น้ำเสีย--การบำบัด--วิธีทางชีวภาพ, โรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง, โรงงานแป้งมันสำปะหลัง--การกำจัดของเสีย
Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการกำจัด COD SS และ TDS และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการบำบัดน้ำทิ้งจากระบบ UASB ของโรงงานแป้งมันสำปะหลังแห่งหนึ่งของจังหวัดศรีสะเกษด้วยกระบวนการเฟนตัน ค่าพารามิเตอร์ตั้งต้น ได้แก่ COD เฉลี่ยเท่ากับ 1,633±211 มิลลิกรัมต่อลิตร SS เฉลี่ยเท่ากับ 1,032±157 มิลลิกรัมต่อลิตร และ TDS เฉลี่ยเท่ากับ 1,420±104 มิลลิกรัมต่อลิตร การทดลองแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาค่าอิทธิพลของเวลาสัมผัสต่อประสิทธิภาพการกำจัด โดยนำน้ำเสีย 500 มิลลิลิตร มาทำการวิเคราะห์ค่าพารามิเตอร์ตั้งต้นต่าง ๆ แล้วทำการปรับค่า pH ให้ได้ pH 3 เติมสาร H2O2 และ Fe2+ อย่างละ 1,000 มิลลิกรัมต่อลิตร ทำการกวนผสมด้วยจาร์เทสต์ที่ 120 รอบต่อนาที เป็นเวลา 30 60 90 และ 120 นาที ตามลำดับ ตั้งทิ้งไว้ 30 นาที ให้ตกตะกอน พบว่าเวลาสัมผัสที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุด คือ 120 นาที ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาอิทธิพลของค่า pH ต่อประสิทธิภาพการกำจัด ทำการทดลองในลักษณะเดียวกับขั้นตอนที่ 1 แต่ทำการปรับเปลี่ยนค่า pH ในช่วง 3-7 กวนผสมเป็นเวลา 120 นาที พบว่า pH ที่มีประสิทธิภาพการกำจัดสูงที่สุดที่ pH 5 ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาอิทธิพลของอัตราส่วนระหว่าง H2O2 ต่อ Fe2+ ต่อประสิทธิภาพการกำจัด ทำการทดลองในลักษณะเดียวกับขั้นตอนที่ 1 แต่ทำการเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนของ H2O2 ต่อ Fe2+ เป็น 7,500:1,000 1,000:1,000 และ 1,000: 7,500 มิลลิกรัมต่อลิตร: มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ เป็นเวลา 120 นาที ที่ pH 5 พบว่า อัตราส่วนที่มีประสิทธิภาพการกำจัดที่สูงที่สุด คือ 1,000 : 1,000 มิลลิกรัมต่อลิตร: มิลลิกรัมต่อลิตร กระบวนการเฟนตันสามารถกำจัดค่า COD สูงสุดถึง 90.32± 0.30% กำจัด SS ได้ 96.77±0.29% แต่จะมีค่า TDS สูงขึ้นหลังจากการบำบัด สุดท้ายเมื่อผ่านกระบวนการการเฟนตันแล้วค่า COD จะลดลงเหลือ 180±5.65 มิลลิกรัมต่อลิตร SS เหลือ 37±2.82 มิลลิกรัมต่อลิตร ส่วน TDS เพิ่มขึ้นเป็น 1,704±19.79 มิลลิกรัมต่อลิตร แต่อย่างไรก็ตามค่า COD ยังไม่ผ่านมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้ง จำเป็นต้องมีระบบบำบัดเพิ่มเติมเช่น การตกตะกอน หรือ การกรอง เป็นต้น

Title Alternate Wastewater treatment from tapioca starch wastewater by fenton process