ผลกระทบของการเลี้ยงปลานิลในกระชังต่อคุณภาพน้ำและความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในลำน้ำอูน จังหวัดสกลนคร ประเทศไทย

Titleผลกระทบของการเลี้ยงปลานิลในกระชังต่อคุณภาพน้ำและความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในลำน้ำอูน จังหวัดสกลนคร ประเทศไทย
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2558
Authorsนนธวัช ก้อนแพง
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
Institutionคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberSH น157ผ
Keywordsการเลี้ยงปลานิล, การเลี้ยงปลาในกระชัง, ความหลากหลายของชนิดพันธุ์--สกลนคร, ปลานิล--การเลี้ยง--สกลนคร, ปลานิล--ผลกระทบต่อคุณภาพน้ำ, สัตว์หน้าดิน, สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง--ลำน้ำอูน, แม่น้ำอูน
Abstract

การศึกษาผลของการเลี้ยงปลานิลในกระชังต่อคุณภาพของน้ำและชุมชนของสัตว์หน้าดินในลำน้ำอูน จังหวัดสกลนครโดยเก็บตัวอย่างน้ำและสัตว์หน้าดิน จาก 12 สถานี ทุกสองเดือนตั้งแต่เดือนเมษายน 2555 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ผลการศึกษาพบว่า การเลี้ยงปลานิลในกระชังมีผลกระทบต่อทั้งคุณภาพน้ำและการแพร่กระจายของประชาคมสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดิน โดยบริเวณที่ไม่มีการเลี้ยงปลานิลในกระชังมีค่าคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดีตามมาตรฐานแหล่งน้ำผิวดินและพบปริมาณของสัตว์หน้าดินในกลุ่ม Hexagenia sp. (แมลงชีปะขาว) และ Ecnomus sp. (หนอนปลอกน้ำ) ในปริมาณสูง ซึ่งเป็นกลุ่มที่ทนต่อมลภาวะได้น้อย ส่วนบริเวณที่มีกิจกรรมการเลี้ยงปลานิลในกระชังจะมีปริมาณไนโตรเจนในรูปแอมโนเนีย ไนไตรท์ และปริมาณฟอสฟอรัสในรูปออร์โธฟอสเฟตสูง และพบสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินกลุ่มที่มีความทนทานต่อมลภาวะสูง ซึ่งได้แก่ ริ้นน้ำจืดหรือหนอนแดง (Chironomus sp.) ไส้เดือนน้ำ (Tubifex) และสัตว์หน้าดินในกลุ่มของหอยซึ่งเป็นกลุ่มผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์
สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินที่สำรวจพบทุกสถานีจำแนกได้เป็น 3 ไฟลัม ได้แก่ Mollusca จำนวน 8 วงศ์ 12 สกุล ไฟลัม Arthropoda 4 วงศ์ 5 สกุล และไฟลัม Annelida 2 วงศ์ 3 สกุล ตามลำดับ โดย Mollusca ที่พบมากเป็นกลุ่มของ Melanoides รองลงมาได้แก่ Corbiculiidae andAnulotaia ตามลำดับ เมื่อนำมาใช้ในการคำนวณค่าดัชนีชีวภาพของคุณภาพน้ำ 2 ดัชนีชีวภาพ คือ ดัชนี Belgian Biological Index (BBI) และดัชนี Biological Monitoring Working Party (BMWP)/คะแนน Average Score Per Taxa (ASTP) ผลการประเมินคุณภาพตามวิธีการของใช้ดัชนีชีวภาพทั้งสอง พบว่า มีระดับคุณภาพใกล้เคียงกัน โดยบริเวณที่มีกระชังเลี้ยงปลาเกือบทั้งหมดมีคุณภาพน้ำอยู่ในระดับ III คือปนเปื้อนปานกลางต่างกันเพียงสถานีที่ 12 คือ จุดเก็บน้ำกระชังเลี้ยงปลาบ้านนาคูณใหญ่ ที่ถูกจัดว่ามีคุณภาพน้ำระดับ IV คือ ปนเปื้อนมากด้วยดัชนี BMWP/ASTP ส่วนจุดที่ไม่มีกระชังเลี้ยงปลามีคุณภาพน้ำอยู่ในระดับ II คือ ปนเปื้อนเบาบาง แสดงว่าทั้งสองดัชนีชีวภาพสามารถนำมาใช้ในการประเมินคุณภาพของแม่น้ำได้ โดยดัชนี BMWP/ASTP จะสะดวกกว่าเนื่องจากไม่ต้องอาศัยการจำแนกทางอนุกรมวิธานที่ละเอียดมาก

Title Alternate Impact of tilapia cage culture on water quality and diversity of Benthic fauna in Aun River, Sakon Nakorn Province, Thailand