Title | แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์และต้นแบบบรรจุภัณฑ์ : กรณีศึกษาสถานประกอบการในเขตพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม ภาคที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี |
Publication Type | งานวิจัย/Research report |
Year of Publication | 2553 |
Authors | ประทับใจ สิกขา |
Institution | คณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | TS171 ป274น |
Keywords | การพัฒนาผลิตภัณธ์, การออกแบบผลิตภัณฑ์, การออกแบบอุตสาหกรรม, ต้นแบบบรรจุภัณฑ์, บรรจุภัณฑ์, ผลิตภัณฑ์--การบรรจุหีบห่อ, ผลิตภัณฑ์ใหม่--การบรรจุหีบห่อ |
Abstract | การดำเนินงานส่งเสริมแนวทางการพัฒนาด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ถือเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผลิตภัณฑ์ในชุมชนเกิดมูลค่าเพิ่ม และส่งผลให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดทั้งในและต่างประเทศ ดังนั้น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ผู้มีส่วนในการพัฒนาต้องมีกระบวนการพัฒนาที่เป็นขั้นตอน สอดคล้องกับปัจจัยที่เกี่ยวข้อง สั้นกระชับอยู่ในเงื่อนไขที่กำหนด เพราะต้องเปลี่ยนแปลงให้ทันตามกลไกทางตลาด และทันต่อความต้องการของลูกค้า ผู้วิจัยเห็นความสำคัญของกระบวนการในการพัฒนา จึงได้กำหนดวัตถุประสงค์ในการวิจัยได้ 3 ประการ คือ 1) เพื่อสนับสนุนให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ใหม่ขึ้นในระบบธุรกิจชุมชน 2) เพื่อสร้างกระบวนการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม ระหว่างผู้ประกอบการหน่วยงานที่มีบทบาทในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบรรจุภัณฑ์ โดยกระบวนการที่ใช้ต้องสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในชุมชนได้หลากหลายประเภท 3) เพื่อนำผลจากการพัฒนาทั้งผลิตภัณฑ์ใหม่ ต้นแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ ตลอดจนกระบวนการที่ผ่านการทดลอง เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์สู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนาผู้วิจัยได้ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 12 กลุ่ม ในพื้นที่ 4 จังหวัด โดยผู้วิจัยได้นำผลจากการศึกษาทดลองมาวิเคราะห์และสรุปผลการศึกษา พบว่า 1) สถานประกอบการที่เป็นกลุ่มตัวอย่างเกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ใหม่ เกิดการพัฒนาและเกิดการเรียนรู้ สามารถนำความรู้และทักษะไปใช้ได้จริงทุกกลุ่ม 2) กระบวนการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม ระหว่าง ผู้ประกอบการกับหน่วยงานที่มีบทบาทในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบรรจุภัณฑ์ที่นำมาใช้มีทั้งหมด 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 สร้างแบบ แนวคิด แบบมีส่วนร่วม ขั้นตอนที่ 2 ติดตามให้คำปรึกษาและร่วมแก้ไขผลงาน ขั้นตอนที่ 3 ประเมินผลิตภัณฑ์ แบบมีส่วนร่วม และปรับปรุงแก้ไข ขั้นตอนที่ 4 ให้ความช่วยเหลือเพื่อสร้างความยั่งยืนซึ่งพบว่า ทั้ง 4 ขั้นตอน สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนได้หลากหลายประเภท 3) การพัฒนาทั้งผลิตภัณฑ์ใหม่ ต้นแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ สามารถใช้ดำเนินการได้จริง กระบวนการที่ผ่านการทดลอง มีการนำเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์สู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง |
Title Alternate | Guideline for product and package model development: a case study of enterprises in the area in the charge of industrial promotion center region7, Ubon Ratchathani |