การกำจัดแคดเมียมจากสารละลายโดยใช้เปลือกส้มโอ

Titleการกำจัดแคดเมียมจากสารละลายโดยใช้เปลือกส้มโอ
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2557
Authorsปวิชญาดา ญาวงศ์
Degreeวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberQD ป494ก
Keywordsการกำจัดแคดเมียม, การดูดซึมและการดูดซับ, การบำบัดน้ำเสีย, น้ำเสีย--การบำบัด, เปลือกส้มโอ, แคดเมียม
Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกำจัดแคดเมียมจากน้ำเสียสังเคราะห์โดยใช้เปลือกส้มโอ (PM) และเปลือกส้มโอดัดแปรด้วยสารละลายกรดไนตริกเข้มข้น 0.1 M (MPM) การวิเคราะห์คุณสมบัติของตัวดูดซับแสดงให้เห็นว่า PM มีพื้นที่ผิวจำเพาะสูงกว่า และมีขนาดของรูพรุนเฉลี่ยใหญ่กว่า MPM ผลการวิเคราะห์ไออาร์สเปกตร้า แสดงให้เห็นว่า PM มีหมู่ free carboxyl groups ซึ่งมีประจุลบและสามารถเกิดพันธะโควาเลนต์กับไอออนของโลหะแคดเมียมได้
ผลการศึกษาการดูดซับแบบกะ แสดงให้เห็นว่า PM มีปริมาณการดูดซับแคดเมียมสูงกว่า MPM จึงเลือก PM มาศึกษาเพียงเท่านั้นปริมาณการดูดซับแคดเมียมเกิดขึ้นสูงสุดมีค่าพีเอชเท่ากับ 5 และที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส โดยมีค่าเท่ากับ 43.51 มิลลิกรัมต่อกรัมปริมาณการดูดซับของแคดเมียมลดลงตามการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิแสดงว่าการดูดซับเป็นกระบวนการคายความร้อน ไอโซเทอมการดูดซับของแคดเมียมมีความสอดคล้องกับไอโซเทอม การดูดซับแบบแลงเมียร์ (การดูดซับแบบชั้นเดียว) มากกว่าไอโซเทอมการดูดซับแบบฟรุนดิช ปริมาณการดูดซับของแคดเมียมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงแรก และค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจนเข้าสู่สมดุลที่ 60 นาที ข้อมูลเชิงจลนพลศาสตร์มีความสอดคล้องกับสมการอัตราการดูดซับอันดับสองเทียมแคดเมียมเกิดการคายซับจาก PM ร้อยละ 44.18 โดยใช้น้ำกลั่นและร้อยละ 68.06 โดยใช้สารละลายกรดไฮโดรคลอริกเข้มข้น 0.1 M ข้อมูลข้างต้นชี้ให้เห็นว่า PM เป็นตัวดูดซับที่มีศักยภาพในการกำจัดแคดเมียมจากน้ำเสีย

Title Alternate Removal of cadmium from aqeous solution using pomelo peel