การบำบัดน้ำเสียจากโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังด้วยกระบวนการโฟโตเฟนตัน

Titleการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังด้วยกระบวนการโฟโตเฟนตัน
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2557
Authorsรัชฎาพร เจริญศรี
Degreeวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTD ร326ก
Keywordsกระบวนการโฟโตเฟนตัน, การบำบัดน้ำเสีย, น้ำเสีย--การบำบัด, น้ำเสีย--การบำบัด--วิธีทางชีวภาพ, โรงงานแป้งมันสำปะหลัง--การกำจัดของเสีย
Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการกำจัด COD SS และ TDS ของน้ำทิ้งจากระบบ UASB ของโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังแห่งหนึ่งในจังหวัดศรีสะเกษ ด้วยกระบวนการโพโตเฟนตัน ซึ่งมีค่าพารามิเตอร์ตั้งต้นดังนี้ COD เฉลี่ยเท่ากับ 1,788±269 mg/l SS เฉลี่ยเท่ากับ 1,075±123 mg/l และ TDS เฉลี่ยเท่ากับ 1,335±157 mg/l โดยการทดลองแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 การบำบัดน้ำเสียด้วยกระบวนการเฟนตันที่สภาวะ pH 3 กวนผสมที่ความเร็วรอบ 120 รอยต่อนาที ณ อุณหภูมิห้องที่เวลา 120 นาที และปรับอัตราส่วนของ H2O2: Fe2+ เป็น 7,500:1,000 1,000:1,000 และ 1,000:7,500 mg/l: mg/l จากผลการทดลอง พบว่า ประสิทธิภาพการกำจัด COD และ SS สูงสุด เท่ากับ 84.86±0.19% และ 93.76±0.58% ตามลำดับ ที่อัตราส่วนของ H2O2: Fe2+ เท่ากับ 1,000:1,000 mg/l: mg/l จากผลการทดลอง พบว่าประสิทธิภาพการกำจัด COD และ SS สูงสุด เท่ากับ 84.86±0.19% และ 93.76±0.58% ตามลำดับ ที่อัตราส่วนของ H2O2: Fe2+ เท่ากับ 1,000:1,000 mg/l: mg/l ส่วนที่ 2 การบำบัดน้ำเสียด้วยการฉายรังสี UV เพียงอย่างเดียว ทำการทดลองในลักษณะเดียวกับการทดลองในส่วนที่ 1 โดยกำลังของหลอด UV ที่ใช้ในการทดลองเท่ากับ 11 22 และ 33 W โดยไม่เติมสารเคมีเฟนตันลงไป พบว่า ประสิทธิภาพการกำจัดเพิ่มขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของกำลังวัตต์ของหลอดยูวี ประสิทธิภาพการกำจัด COD และ SS สูงสุดมีค่าเท่ากับ 64.38±2.65% และ 76.23±0.52% ตามลำดับ โดยใช้กำลังของหลอด UV เท่ากับ 33 W ส่วนที่ 3 การบำบัดน้ำเสียด้วยกระบวนการโฟโตเฟนตัน ทำการทดลองในลักษณะเดียวกับการทดลอง พบว่า ประสิทธิภาพการกำจัด COD และ SS สูงสุด เท่ากับ 91.70±1.07% และ 95.76±0.63% ตามลำดับที่อัตราส่วนของ H2O2: Fe2+ เท่ากับ 1,000:1,000 mg/l: mg/l ที่กำลังของหลอด UV เท่ากับ 33 W ดังนั้น กระบวนการโฟโตเฟนตันมีประสิทธิภาพสูงกว่าอีกทั้งสองกระบวนการจากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า โฟโตเฟนตันเป็นกระบวนการที่มีศักยภาพสูงในการลดปริมาณสารอินทรีย์ในน้ำเสียโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง แต่ค่า COD ยังไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้ง จำเป็นต้องมีระบบบำบัดเพิ่มเติม เช่น การตกตะกอน หรือการกรอง เป็นต้น ในขณะที่ TDS และ SS ของน้ำที่บำบัดแล้ว มีค่าผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้ง

Title Alternate Wastewater treatment of tapioca starch wastewater by photo-fenton process