Title | การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องระบบนิเวศ และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือประเภทกลุ่มแข่งขัน |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2555 |
Authors | สุวิมล ยามประโคน |
Degree | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา |
Institution | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | QH ส882ก |
Keywords | การสอนวิทยาศาสตร์, ทัศนคติเชิงวิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา), นิเวศวิทยา--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา), ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ระบบนิเวศ--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา), ระบบนิเวศ--กิจกรรมการเรียนการสอน |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนเรื่องระบบนิเวศ 2) ศึกษาและเปรียบเทียบประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้กับเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 3) หาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ และ 4) ศึกษาเจตคติต่อวิทยาศาสตร์หลังการจัดการเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือประเภทกลุ่มแข่งขัน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร (วิภาคย์วิทยากร) อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 30 คน ได้มาโดยการเลือกแบบกลุ่มแข่งขันเรื่องระบบนิเวศ จำนวน 5 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดปรนัยแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และ 3) แบบประเมินเจตคติต่อวิทยาศาสตร์แบบแผนการวิจัยเป็นแบบ one group pretest-posttest design วิธีดำเนินการวิจัย 1) ทดสอบก่อนเรียน 2) ดำเนินการจัดการเรียนการสอนนักเรียนกลุ่มตัวอย่างตามแผนการจัดการเรียนรู้ 3) เก็บรวบรวมคะแนนของกระบวนการเรียนรู้ 4) ทดสอบหลังเรียนและวัดเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ ผลการวิจัย พบว่า 1) คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าเท่ากับร้อยละ 81.17 และ 49.08 ตามลำดับ 2) ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้มีค่าเท่ากับ 80.13/81.17 ซึ่งมีค่าสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 3) ดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.63 4) เจตคติต่อวิทยาศาสตร์มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.03 หมายความว่า นักเรียนมีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมาก |
Title Alternate | The development of learning achievement in ecosystem units and attitude towards science for grade 9 students integrated with cooperative learning using team game tournament technique |