การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง ชีวิตและสิ่งแวดล้อมโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์

Titleการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง ชีวิตและสิ่งแวดล้อมโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2557
Authorsนุชศรา ชุมมินทร์
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา
Institutionคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberQ น729ก 2557
Keywordsการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์, การสอนวิทยาศาสตร์, ความคิดและการคิด--การศึกษาและการสอน, มนุษย์--อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม--การศึกษาและการสอน, วิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน, สิ่งมีชีวิตแง่สิ่งแวดล้อม--การศึกษาและการสอน, สิ่งแวดล้อมศึกษา--การศึกษาและการสอน
Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ที่เน้นการคิดวิเคราะห์ พร้อมทั้งศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียน และประสิทธิภาพของกระบวนการจัดการเรียนรู้ ขั้นตอนการวิจัยประกอบด้วย การทดสอบก่อนเรียน การจัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้รวมระยะเวลา 18 ชั่วโมง โดยมีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้น ได้แก่ ขั้นสร้างความสนใจ ขั้นสำรวจค้นหา ขั้นสร้างคำอธิบาย ขั้นอภิปรายความรู้ และขั้นประเมินผล และการทดสอบหลังเรียน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนรู้แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ที่เน้นการคิดวิเคราะห์ทุกขั้นตินทำให้ผู้เรียนมีคะแนนความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์หลังเรียน (37.10±1.79) สูงกว่าคะแนนความสามารถด้านการวิเคราะห์ก่อนเรียน (19.47±2.91) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยยกระดับความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์จากระดับพอใช้ไปอยู่ในระดับดีมาก ผู้เรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเฉลี่ยอยู่ในระดับกลาง (=0.69) นอกจากนี้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะวิทยาศาสตร์ที่เน้นการคิดวิเคราะห์นี้มีค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 78.73/82.44 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ (75/75) โดยสามารถยกระดับความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนได้คลอบคลุมทั้งแบบวิเคราะห์ความสำคัญ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ และวิเคราะห์หลักการ

Title Alternate Development of grade 9 students' analytical thinking skill on life environment subject using science inquiry method