การบำบัดอาร์เซนิคในน้ำโดยพืชน้ำ

Titleการบำบัดอาร์เซนิคในน้ำโดยพืชน้ำ
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2556
Authorsประสงค์สม ปุณยอุปพัทธ์
Institutionคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTD758.5.O75 ป391ก 2556
Keywordsการบำบัดน้ำ, น้ำเสีย, น้ำเสีย--การบำบัด--การกำจัดอาร์เซนิค, พืชน้ำ
Abstract

พืชน้ำพื้นถิ่น 3 ชริด ได้แก่ จอกผักกาด แหนแดง และสาหร่ายหางกระรอก ถูกคัดเลื่อเพื่อนำมาใช้ในการบำบัดสารหนูในน้ำ จอกผักกาดถูกนำมาทดลองเบื้องต้น เพื่อหาผลของความเข้มข้นต่อการเจริญของพืชน้ำ ซึ่งผลการทดลองพบว่า ค่าความเข้มข้นของสารหนูที่ 20 เท่าของมาตรฐานน้ำ คือ 200 µg/L ทำให้ผักกาดแสดงอาการเหี่ยว ใบสีเหลือง เน่า และตายภายใน 7 วัน
ในการทดสอบความสามารถในการลดความเข้มข้นสารหนูโดยพืชน้ำทั้ง 3 ชนิด ที่ความเข้มข้นเริ่มต้น 100 µg/L พบว่า พืชน้ำ 3 ชนิดมีความสามารถในการลดความเข้มข้นของสารหนูในน้ำได้ตั้งแต่ 60-80% โดยพืชน้ำแต่ละชนิดมีประสิทธิภาพและช่วงเวลาในการลดความเข้มข้นของสารหนูในน้ำที่แตกต่างกันออกไป
แหนแดงเป็นพืชน้ำชนิดแรกที่ให้ประสิทธิภาพในการลดความเข้มข้นของสารหนูได้ดีที่สุด โดยมีประสิทธิภาพในการลดความเข้มข้นสูงถึง 74.47% ในช่วงเวลา 7 วันแรก ในขณะที่สาหร่ายหางกระรอกและจอกผักกาดมีประสิทธิภาพในการลดความเข้มข้นเท่ากับ 71.48 และ 51.85% ตามลำดับ ซึ่งเมื่อนำค่าความสามารถมาเรียงลำดับก็จะสามารถเรียงได้ดังนี้
ในเวลา 7 วัน ประสิทธิภาพการลดความเข้มข้นสารหนู: แหนแดง>สาหร่ายหางกระรอก > จอกผักกาด
แต่เมื่อระยะเวลาการทดลองเพิ่มขึ้นพบว่าประสิทธิภาพเพิ่มขค้น ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าประสิทธิภาพการลดสารหนูของสาหร่ายหางกระรอก และจอกผักกาดเพิ่มขึ้นจนมีค่าสูงสุดที่ 82.76 และ 63.89% ในวันที่ 14 ซึ่งเมื่อนำค่าความสามารถมาเรียงลำดับก็จะสามารถเรียงได้ดังนี้
ในเวลา 14 วัน ประสิทธิภาพการลดความเข้มข้นของสารหนู: สาหร่ายหางกระรอก> แหนแดง > จอกผักกาด
จากการเปรียบเทียบคุณสมบัติของพืชน้ำทั้ง 3 ชนิด พบว่า จอกผักกาดที่มีรากยาวและมีขนาดใหญ่นั้น ไม่ได้เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งทำให้จอผักกาดสามารถดูดซับสารหนูในแหล่งน้ำได้ดีกว่าพืชชน้ำอื่น ๆ นอกจากนั้นยังพบว่าสาหร่ายหางกระรอกที่มีทุกส่วนของพืชอยู่ในนั้นสามารถดูดสารหนูได้ดีที่สุด

Title Alternate Phyto-remediation of arsenic from water by aquatic plants