Title | การพัฒนารูปแบบเพื่อการบูรณาการระบบสารสนเทศที่ดินในการบริหารจัดการระบบที่ดินอย่างยั่งยืน |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2556 |
Authors | ศักดิ์ชัย เอกอินทุมาศ |
Degree | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต -- สาขาวิชาพัฒนาบูรณาการศาสตร์ |
Institution | คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | HD ศ319ก 2556 |
Keywords | การจัดรูปที่ดิน, การบริหารจัดการระบบที่ดิน, การพัฒนาที่ดิน, การใช้ที่ดิน, ที่ดิน, ระบบสารสนเทศที่ดิน |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาระบบการบริหารจัดการระบบที่ดินรูปแบบเดิม ซึ่งใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคู่กับการปฏิบัติงานระบบมือ (Manual System) และการบริหารจัดการระบบที่ดินรูปแบบใหม่ (Cadastral Information System: CIS) 2) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการระบบที่ดินอย่างยั่งยืนของกรมที่ดิน 3) ปฏิบัติการทดลองและประเมินประสิทธิผลรูปแบบการบริหารจัดการระบบที่ดินอย่างยั่งยืนของกรมที่ดิน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม กลุ่มประชากร คือ ข้าราชการสำนักงานที่ดินจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ควบคู่กับการปฏิบัติงานด้วยมือ เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่มาก มีการเรียนร้องสิทธิที่ดินเพื่ออยู่อาศัยและที่ดินทำกันและจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นสำนักงานอัตโนมัติ และเป็นพื้นที่ของโครงการนำร่องการใช้ระบบสารสนเทศที่ดินเพื่อการบริหารจัดการระบบที่ดิน ใช้วิธีเจาะจงในการเลือกกลุ่มตัวอย่างจากฝ่ายวิชาการ ฝ่ายทะเบียนสิทธิและนิติกรรม และฝ่ายรังวัด แห่งละ 15 คน เครือข่ายประชาชน แห่งละ 10 คน ในการพัฒนารูปแบบการบริหการจัดการระบบที่ดินอย่างยั่งยืนของกรมที่ดิน ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ ปฏิบัติการทดลองและประเมินประสิทธิผลรูปแบบที่สำนักงานที่ดินจังหวัดสงขลาเลือกกลุ่มตัวอย่างจากฝ่ายวิชาการ ฝ่ายทะเบียนสิทธิและนิติกรรม และฝ่ายรังวัด 15 คน เครือข่ายประชาชน 10 คน ด้วยวิธีเจาะจง ผลการศึกษาพบว่า 1) รัฐขาดความเป็นเอกภาพในการบริหารจัดการระบบที่ดิน ขาดความมั่นคงในการถือครองที่ดินทั้งรัฐและเอกชน มีการถือครองที่ดินขนาดใหญ่และไม่ทำประโยชน์ในที่ดิน ขาดการสนับสนุนการกระจายการถือครองที่ดิน และขาดการมีส่วนร่วมประชาชนในระบบที่ดิน การพัฒนาระบบสารสนเทศที่ดินถือเป็นเงื่อนไขที่จำเป็น (Necessary Condition) ต่อการบริหารจัดการระบบที่ดิน เป็นแนวทางในการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการพัฒนาธรรมภิบาลที่เรียกว่า “ธรรมาภิบาลกับเทคโนโลยีสารสนเทศ” สำนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่สามารถให้บริการประชาชนด้วยระบบสารสนเทศที่ดินที่สมบูรณ์ ถูกต้องและเป็นปัจจุบันเกิดความโปร่งใส ถูกต้องตามระเบียบและกฏหมาย รวดเร็ว ด้วยความเสมอภาค มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล มีความแตกต่างกับการให้บริการของสำนักงานที่ดินจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนาระบบสารสนเทศที่ดินเพื่อการบริหารจัดการระบบที่ดิน ให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการให้บริการต่อไป 2) ผลการประเมินความเหมาะสมของระบบสารสนเทศที่ดินเพื่อการบริหารจัดการระบบที่ดิน พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.22 จากคะแนนเต็ม) 3) การทดลองและประเมินรูปแบบการบริหารจัดการระบบที่ดินอย่างยั่งยืนของกรมที่ดิน ผลการวิจัยเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยความรู่และเจตคติ โดยรวมพบว่า คะแนนเฉลี่ย หลังการอบรมสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อ “การพัฒนารูปแบบเพื่อการบูรณาการระบบสารสนเทศที่ดินในการบริหารจัดการระบบที่ดินอย่างยั่งยืน” พบว่า ปัจจัยทางการเมืองยังขาดเจตจำนงทางการเมืองเพื่อการปฏิรูปที่ดิน การสร้างเจตจำนงทางการเมืองซึ่งมีความหมายรวมถึงเจตจำนงทางการเมืองของทุกภาคส่วนในสังคม ได้แก่ ภาคการเมือง ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม และประชาชนทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับระบบที่ดินถือเป็นเงื่อนไขพอเพียง (Sufficiency Condition) ที่สำคัญ เป็นปัจจัยความสำเร็จที่ต้องสร้างขึ้นเพื่อการปฏิรูปที่ดิน |
Title Alternate | Development of model for integrative cadastral information system and sustainable governance |