การพัฒนาหน่วยปฏิบัติการเคมีเสริมสร้างทักษะการสืบเสาะสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

Titleการพัฒนาหน่วยปฏิบัติการเคมีเสริมสร้างทักษะการสืบเสาะสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2556
Authorsศักดิ์ศรี สุภาษร
Institutionคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberQD31.2 ศ327ร 2556
Keywordsการสอนวิทยาศาสตร์, การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้, กิจกรรมการเรียนการสอน, ความคิดและการคิด, เคมี--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
Abstract

โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาหน่วยปฏิบัติการเคมีเสริมสร้างทักษะการสืบเสาะสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ISB-Chem) และใช้ ISB-Chem ในการพัฒนาความเข้าใจและทักษะการสืบเสาะหรือทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน โดยผู้วิจัยได้พัฒนาหน่วย ISB-Chem จำนวน 4 หน่วย โดยมีรายละเอียดดังนี้
1)จากการทดลองใช้ ISB-Chem M1 เรื่อง การแยกสาร จำนวน 12 ชั่วโมง กับกลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านนาทุ่ง จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 33 คน พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน (mean 14.24, SD 2.45) สูงกว่าก่อนเรียน (mean 7.73, SD 2.76) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีคะแนนความก้าวหน้าคิดเป็นร้อยละ 32.58 และมีความพึงพอใจต่อการเรียนวิทยาศาสตร์หลังเรียน (mean 89.00, SD 8.97) สูงกว่าก่อนเรียนด้วยกิจกรรม ISB-Chem M1 (mean 77.76, SD 8.39) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
2)จากการทดลองใช้ ISB-Chem M2 เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี จำนวน 16 ชั่วโมง กับกลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านโคกสว่าง จังหวัดบุรีรัมย์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 25 คน พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน (mean 21.17, SD 6.20) สูงกว่าก่อนเรียน (mean 15.00, SD 3.71) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีคะแนนความก้าวหน้าคิดเป็นร้อยละ 15.43 และมีคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการหลังเรียน (mean 15.14, SD 3.55) สูงกว่าก่อนเรียน (mean 10.08, SD 4.69) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3) จากการทดลองใช้ ISB-Chem M3 เรื่อง สารและการเปลี่ยนแปลง จำนวน 16 ชั่วโมง กับกลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านผาแก้ว จังหวัดอุบลราชธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 26 คน พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน (mean 16.19, SD 1.79) สูงกว่าก่อนเรียน (mean 9.27, SD 2.01) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีคะแนนความก้าวหน้าคิดเป็นร้อยละ 35.46 และมีร้อยละของนักเรียนที่มีคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม เป็น 76.93 และไม่ผ่านเกณฑ์ 23.07
4) จากการทดลองใช้ ISB-Chem M4 เรื่อง สารอาหาร จำนวน 8 ชั่วโมง กับกลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนศรีเมืองวิทยาคาร อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 39 คน พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน (mean 21.38, SD 3.69) สูงกว่าก่อนเรียน (mean 11.59, SD 2.56) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีคะแนนความก้าวหน้าคิดเป็นร้อยละ 32.63 และนักเรียนที่มีคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการอยู่ในระดับ “ดี” (ร้อยละ 75.19)
จะเห็นได้ว่า ISB-Chem M4 ทั้ง 4 เรื่อง มีประสิทธิภาพในการพัฒนาทั้งด้านความเข้าใจในเนื้อหาและด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ยังช่วยให้นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ไปในทางบวกมากขึ้นอีกด้วย

Title Alternate Development of the inquiry skills building chemistry experimental units (ISB-CHEM) for secondary school student