การกำจัดฟีนอลด้วยเอนไซม์แลคเคสหยาบตรึง

Titleการกำจัดฟีนอลด้วยเอนไซม์แลคเคสหยาบตรึง
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2556
Authorsจุฑามาศ ปัดภัย
Degreeวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTD จ628ก 2556
Keywordsการกำจัดฟีนอล, น้ำเสีย--การบำบัด, ฟีนอล, เอนไซม์แลคเคส
Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกำจัดฟีนอลด้วยเอนไซม์แลคเคสหยาบตรึงในสภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลง ความเข้มข้นของแบเรียมคลอไรด์ในการเตรียมแบเรียมแอลจิเนต ความเป็นกรด-ด่างของฟีนอล ความเข้มข้นของเอนไซม์ ความเข้มข้นของฟีนอล และการนำเอนไซม์กลับมาใช้ซ้ำ โดยการศึกษาครั้งนี้ใช้เอนไซม์แลคเคสหยาบที่เตรียมจากเชื้อ Lentinus polychrous Lev. มาตรึงแบบดักติด
ผลการศึกษาพบว่า ความเข้มข้นที่เหมาะสมในการเตรียมแบเรียมแอลจิเนต คือ โซเดียม แอจิเนต และแบเรียมคลอไรด์ที่ความเข้มข้นร้อยละ 2 และ 3 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร ตามลำดับและผลการศึกษาประสิทธิภาพการกำจัดฟีนอลที่สภาวะต่าง ๆ พบว่า ค่าความเป็นกรด-ด่างของฟีนอลที่พีเอช 7 มีเปอร์เซ็นต์การกำจัดฟีนอลสูงสุด เท่ากับ ร้อยละ 65.92 และเมื่อเพิ่มความเข้มข้นของเอนไซม์แลคเคส จะส่งผลให้ระบบมีประสิทธิภาพในการกำจัดฟีนอลสูงขึ้น โดยความเข้มข้นของเอนซม์ที่ให้ผลเปอร์เซ็นต์การกำจัดฟีนอลที่ดีที่สุด คือ 0.1097 ยูนิตต่อมิลลิลิตร เปอร์เซ็นต์การกำจัดฟีนอล เท่ากับ ร้อยละ 62.60 และเมื่อเพิ่มความเข้มข้นของฟีนอล พบว่า ระบบมีประสิทธิภาพในการกำจัดฟีนอลลดลง นอกจากนี้เมื่อนำเอนไซม์หยาบตรึงมาใช้ซ้ำ พบว่า สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้มากกว่า 3 ครั้ง ผลการศึกษาข้างต้นบ่งชี้ถึงศักยภาพในการประยุกต์ใช้เอนไซม์แลคเคสหยาบตรึงเพื่อกำจัดฟีนอลและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในระดับอุตสาหกรรมต่อไป

Title Alternate Removal of phenol by immobilized crude laccase
Fulltext: