Title | การแยกและศึกษาคุณสมบัติของไลติกเฟจที่จำเพาะต่อ ESBL Escherichia coli |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2556 |
Authors | ชญานี ฉิมพาลี |
Degree | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ |
Institution | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | QR ช112ก 2556 |
Keywords | ESBL Escherichia coli, แบคทีเรีย--การตรวจหา, แบคทีเรีย--การวิเคราะห์, แบคทีเรียวิทยา, ไลติกเฟจ |
Abstract | ในบรรดาวิธีการรักษาทางเลือกที่พัฒนาขึ้นเพื่อรับมือกับความสามารถในการดื้อยาปฏิชีวนะของ extended-spectrum beta-lactamase Escherichia coli (ESBL E.coli) การรักษาโรคด้วยแบคเทอริโอเฟจจัดเป็นวิธีการหนึ่งที่มีศักยภาพ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแยกและจัดจำแนกแบคเทอริโอเฟจที่จำเพาะต่อ ESBL E.coli และเพื่อทดสอบความสามารถในการยับยั้งแบคทีเรียดังกล่าวในหลอดทดลองเมื่อใช้แบคทีเรียชนิดเดียว และเมื่อใช้แบคทีเรียมากกว่าหนึ่งร่วมกัน แบคเทอริโอเฟจ 7 ชนิด ( W-1, W-2, W-4, W-5, W-8, W-9 และ W-10) ที่แยกได้จากน้ำทิ้งสามารถทำให้เกิด plaques ใสขนาดเล็ก แสดงให้เห็นว่าแบคเทอริโอฟาจเหล่านี้ เป็นไลติกแบคเทอริโอเฟจ ความสามารถในการทำลายแบคทีเรียของแบคเทอริโอเฟจดังกล่าวไม่จำกัดอยู่เฉพาะกับ ESBL E.coli แบคเทอริโอเฟจแต่ละชนิดนอกจากสามารถทำลาย ESBL E.coli แล้วยังสามารถทำลายแบคทีเรียอื่นที่ใช้ในการศึกษานี้ได้อีกอย่างน้อยหนึ่งสายพันธุ์ จากการตัดจีโนมของแบคเทอริโอเฟจด้วยเอนไซม์ตัดจำเพาะ Hind III พบว่า จีโนมของแบคเทอริโอเฟจเหล่านี้จัดเป็น DNA สายคู่ในการทดลองต่อไปได้เลือกใช้แบคเทอริโอเฟจเพียง 3 ชนิดที่มี host range กว้างที่สุด จากแบคเทอริโอเฟจได้ทั้ง 7 ชนิด มาศึกษารูปร่างด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนแบบส่องผ่านพบว่า W-1 และ W-10 มีหัวแบบ isometric head และมีหางแบบยืดหดไม่ได้ในขณะที่ W-4 มีหัวแบบ isomeric head และมีหางแบบยืดหดไม่ได้ในขณะที่ W-4 มีหัวแบบ isomeric head และมีหางแบบยืดหดได้ จากลักษณะของจีโนมและรูปร่างของแบคเทอริโอเฟจทำให้สามารถจัดจำแนก W-1 และ W-10 ไว้ในสกุล Siphoviridae และ W-4 ไว้ในสกุล Myoviridae จากกราฟการเจริญของแบคเทอริโอเฟจ พบว่า W-1, W-4 และ W-10 มี latent period เท่ากับ 60, 60 และ 180 นาที ตามลำดับ มี burst period เท่ากับ 240, 240 และ 270 นาที ตามลำดับ และมี burst size เท่ากับ 258.33, 486.05 และ 139.39 PFU/infected cell ตามลำดับ การทดสอบความสามารถในการยับยั้ง ESBL E.coli โดยใช้แบคเทอริโอเฟจเพียงชนิดเดียว แบคเทอริโอเฟจ 2 ชนิดร่วมกัน ( W-1+ W-4ม W-1+ W-10 และ W-4+ W-10) และแบคเทอริโอเฟจ 3 ชนิดร่วมกัน ( W-1+ W-4+ W-10) แสดงให้เห็นว่าการทดลองทุกแบบให้ผลการยับยั้งที่ไม่แตกต่างกัน แต่ก็ดีกว่าผลการยับยั้งที่พบในชุดควบคุมที่ไม่มีการใส่แบคเทอริโอเฟจ โดยสรุปแล้วแบคเทอริโอเฟจที่ได้จากการศึกษานี้มีความสามารถในการยับยั้ง ESBL E.coli ดังนั้นจึงน่าจะมีประโยชน์ในการนำไปใช้รักษาโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียดังกล่าว |
Title Alternate | Isolation and characterization of lytic phages specific to ESBL Escherichia coli |