การพัฒนามโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่องคลื่นกลโดยการเรียนรู้แบบพิสูจน์เชิงปฏิสัมพันธ์

Titleการพัฒนามโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่องคลื่นกลโดยการเรียนรู้แบบพิสูจน์เชิงปฏิสัมพันธ์
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2556
Authorsพนัส แก่นอาสา
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา
Institutionคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberQC พ196ก 2556
Keywordsการเรียนรู้แบบพิสูจน์เชิงปฏิสัมพันธ์, คลื่นกล--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา), ฟิสิกส์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา), มโนมติทางวิทยาศาสตร์
Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนามโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง คลื่นกลของนักเรียนชันมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนนารีนุกูล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 40 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบพิสูจน์เชิงปฏิสัมพันธ์ (IRDs) โดยประยุกต์จากรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบสาธิตการปฏิสัมพันธ์ (ILDs) แบบทดสอบมโนมติเรื่องคลื่นกล MWCS วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที และ normalized gain ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบพิสูจน์เชิงปฏิสัมพันธ์ (IRDs) ประกอบด้วย 9 ขั้นตอน 1) อธิบายการสาธิต 2) การทำนาย 3) แลกเปลี่ยนผลการทำนาย 4) รวมกลุ่มตามผลการทำนาย 5) แต่ละกลุ่มนำเสนอผลการทำนายและโต้แย้ง 6) สาธิต 7) อภิปรายผล 8) ขยายความรู้ และ 9) ประเมิน ก่อนการจัดการเรียนรู้นักเรียนมีมโนมติที่คาดเคลื่อนมากที่สุดในเรื่องคลื่นนิ่งและนักเรียนมีมโนมติทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นหลังจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งนักเรียนมีการพัฒนาแนวคิดรายบุคคลอยู่ระหว่าง 0.35-0.95 ระดับของค่า จัดได้สองกลุ่ม คือ Medium gain จำนวน 22 คน และ high gain จำนวน 18 คน ผลการเรียนรู้รายห้อง 0.64 ระดับของค่า อยู่ในระดับ Medium gain

Title Alternate Using interactive refutation demonstrations for grade 10 students to development students' science concept in mechanical wave
Fulltext: