ปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าแฟชั่นทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) : กรณีศึกษาเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

Titleปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าแฟชั่นทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) : กรณีศึกษาเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2556
Authorsภูริต เจริญยศธนา
Degreeบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Institutionคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberHF ภ379ป 2556
KeywordsE-commerce, การตลาดอินเทอร์เน็ต, การตัดสินใจซื้อสินค้า, พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าแฟชั่นทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) กรณีศึกษาเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ที่มีลักษณะปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน และปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าแฟชั่นทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ที่มีการใช้อินเทอร์เน็ตและเคยซื้อสินค้าแฟชั่นทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ตัวอย่าง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตนฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ t-test One-way ANOVA ทดสอบสมมติฐานเพื่อหาความสัมพันธ์ของปัจจัยภายนอกด้านต่าง ๆ ตามกรอบแนวคิด โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Correlation) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัวที่เป็นอิสระต่อกัน และทดสอบสมมติฐาน การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression) เพื่อพยากรณ์แนวโน้มของตัวแปรอิสระ 2 ตัวที่มีผลต่อตัวแปรตาม
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 21-25 ปี มีระดับการศึกษาสูงสุดปริญญาตรี มีอาชีพนักเรียน/นักศึกษา และมีรายได้ 5,001-10,000 บาท ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ รายได้ต่อเดือน การศึกษาที่จบอาชีพ แตกต่างกันมีกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าแฟชั่นทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยพบว่า ปัจจัยภายนอกด้านเศรษฐกิจมีค่าความสัมพันธ์สูงสุด (r) คือ 0.810 รองลงมาคือ ด้านเทคโนโลยี มีค่าความสัมพันธ์ (r) คือ 0.808 ด้านการเมืองและกฏหมาย มีค่าความสัมพันธ์ (r) คือ 0.798 ด้านสังคมและวัฒนธรรม มีค่าความสัมพันธ์ (r) คือ 0.769 ตามลำดับ ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าแฟชั่นทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยพบว่าตัวแปรที่มีอิทธิพลมากที่สุด คือ ด้านเศรษฐกิจ รองลงมือคือ ด้านเทคโนโลยี ด้านการเมืองและกฏหมาย ด้านสังคมและวัฒนธรรม โดยมีค่า Beta เท่ากับ 0.271, 0.261, 0.254 และ 0.209 ตามลำดับ

Title Alternate Factors affecting the buying decision process of fashionable products through E-Commerce : a case study of Amphoe Mueang, Ubon Ratchathani province