Title | การศึกษาสมรรถนะการผสม และความดีเด่นของลูกผสมชั่วแรกขององค์ประกอบผลผลิตของงา (Sesamum indicum L.) |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2556 |
Authors | อิทธิพล ขึมภูเขียว |
Degree | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ |
Institution | คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | SB อ727ก 2556 |
Keywords | การปรับปรุงพันธุ์งา, งา--การปรับปรุงพันธุ์, งา--พันธุ์, ผลผลิตของงา |
Abstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะการผสม (combining ability) ความดีเด่นของงาลูกผสมชั่วแรก (heterosis) และความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบผลผลิตและผลผลิตของงาน ทำการศึกษาโดยนำพันธุ์งา 8 สายพันธุ์ ได้แก่ KU18, MKS-I-83042-1, MKS-I-84001, MR36, BL5, A30-15, MR13 และพันธุ์ WL9 มาผสมแบบพบกันหมด (diallel cross) โดยไม่มีการผสมสลับ (withour reciprocal) ได้ลูกผสมชั่วที่หนึ่ง (F1) จำนวน 28 คู่ผสม นำไปปลูกทดสอบโดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (RCBD) ทำ 3 ซ้ำ จากนั้นทำการวิเคราะห์ค่าสมรรถนะการผสมตามวิธีของ Griffing (1956) method 2 Model I วัดค่าความดีเด่นของลูกผสมและวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ (correlation) และสัมประสิทธิ์เส้นทาง (path coefficient) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบผลผลิตกับผลผลิตของงา ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะองค์ประกอบผลผลิต ผลผลิต และปริมาณน้ำมัน มีสมรรถนะการผสมแบบทั่วไป (GCA) และแบบเฉพาะ (SCA) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นจำนวนวันดอกแรกบานในสมรรถนะการผสมแบบเฉพาะ และเมื่อเปรียบเทียบอัตราส่วนความแปรปรวนระหว่าง GCA: SCA พบว่า อิทธิพลของยีนแบบผลบวกมีความสำคัญมากกว่าแบบไม่เป็นผลบวกในทุกลักษณะที่ศึกษา สำหรับการประเมินอิทธิพลสมรรถนะการผสมแบบทั่วไป พบว่า พันธุ์ MKS-I-84001 และ WL9 มีสมรรถนะการผสมแบบทั่วไปด้านบวกในลักษณะผลผลิตต่อต้นและผลผลิตต่อไร่ และพันธุ์ MKS-I-83042-1 และ KU18 มีสมรรถนะการผสมแบบทั่วไปด้านลบในลักษณะจำนวนวันดอกแรกบาน จำนวนวันเก็บเกี่ยว ความสูงฝักแรก ความสูงต้น และจำนววนกิ่งหลักต่อต้น และพบว่าพันธุ์คู่ผสม MR36 x WL9, A30-15xBL5, KU18xMKS-I-84001 และ A30-15xMR13 มีสมรรถนะการผสมแบบเฉพาะด้านบวกในลักษณะผลผลิตต่อต้น และผลผลิตต่อไร่ สำหรับการศึกษาความดีเด่นของลูกผสมชั่วที่ 1 พบว่า พันธุ์คู่ผสม A30-15xBL5 ให้ค่า HB สูงสุด ในลักษณะจำนวนฝักต่อต้น ผลผลิตต่อต้นและผลผลิตต่อไร่ พันธุ์คู่ผสม MR36xMR13 ให้ค่า HB ต่ำสุดในลักษณะความสูงต้น และพันธุ์คู่ผสม MKS-I-83042-1xMR36 ให้ค่า HB ต่ำสุด ในลักษณะจำนวนวันดอกแรกบาน และการศึกษาสหสัมพันธ์และสัมประสิทธิ์เส้นทาง พบว่า จำนวนฝักต่อต้นมีอิทธิพลต่อผลผลิตโดยรวม และโดยตรงแบบบวกสูงสุด นอกจากนี้ พบว่า ความยาวฝักมีความสัมพันธ์กับน้ำหนัก 1,000 เมล็ด โดยรวมแบบบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ |
Title Alternate | Study on combining ability and heterosis of yield components of sesame (Sesamum indicum L.) |