กระบวนการจัดการที่สาธารณะอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน : กรณีศึกษากุดก่วยและบุ่งเซียงติก ตำบลแจระแม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

Titleกระบวนการจัดการที่สาธารณะอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน : กรณีศึกษากุดก่วยและบุ่งเซียงติก ตำบลแจระแม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2557
Authorsขรรค์เพชร ชายทวีป, ณรุจน์ วศินปิยมงคล, บุญทิวา พ่วงกลัด
Institutionคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberHD890.55.Z9U2 ข243ก 2557
Keywordsการจัดการที่สาธารณะ, การมีส่วนร่วมของชุมชน, การใช้ที่ดิน--อุบลราชธานี, ที่ดินสาธารณะ--อุบลราชธานี
Abstract

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการที่สาธารณะแปลงกุดก่วยและแปลงบุ่งเซียงติก การมีส่วนร่วมของชุมชนในกระบวนการจัดการที่ดินสาธารณะแปลงกุดก่วย และบุ่งเซียงติก และรูปแบบ กระบวนการและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมที่ เหมาะสมรวมตลอดถึงความรู้ทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องของชาวบ้านทัพไทและบ้านหนองจานในการจัดการที่สาธารณะแปลงกุดก่วย เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบ กระบวนการและกฎหมายที่เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมที่เหมาะสมของชาวบ้านทัพไทและหนองจานในการจัดการที่สาธารณะต่อไป โดยแนวคิดทฤษฏีที่นำมาใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ได้นำมาใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ได้นำเอาแนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบการมีส่วนร่วมของ Pretty (1995) มาเป็นกรอบในการศึกษา โดยใช้การศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการทำแบบทดสอบความรู้กฎหมายเกี่ยวกับที่สาธารณะเป็นเครื่องมือในการศึกษา
เมื่อได้ศึกษาการจัดการพื้นที่สาธารณะกุดก่วยและบุ่งเชียงติดในตำบลแจระแมแล้วผู้วิจัยพบว่าการมีส่วนร่วมของชุมชนยังมีค่อนข้างจำกัด ซึ่งหากพิจารณาตามแนวคิดร่วมของ Pretty (1995) แล้ว จะเป็นว่าการมีส่วนร่วมของชุมชนจะมีลักษณะเป็น “การมีส่วนร่วมที่ไม่จริง” และ “การมีส่วนร่วมแบบเฉื่อยชา” โดยประชาชนจะมีส่วนร่วมเพียงเพื่อรับทราบข้อมูลเท่านั้น ว่ามีการตัดสินใจอะไรไปหรือมีการดำเนินอะไรไปแล้ว โดยสาเหตุที่ทำให้การมีส่วนร่วมของชุมชนมีอย่างจำกัดพบว่า มีปัจจัยจากสาเหตุสองประการ ประการแรก เป็นปัจจัยในเชิงโครงสร้างทางกฎหมายและการบริหาร โดยในทางกฎหมายนั้นจะเห็นว่าแม้รัฐธรรมนูญจะระบุว่าประชาชนในชุมชนมีบทบาทสำคัญในการร่วมบริหารจัดการทรัพยากรท้องถิ่น แต่กฎหมายและกฎหมายลำดับรองที่มีอยู่กลับไม่ให้อำนาจนั้นกับชุมชน และเจ้าหน้าที่และหน่วยงานของรัญที่ใช้กฎหมายที่ขัดกับรัฐธรรมนูญนั้นจัดการที่สาธารณะ ประการที่สอง ประชาชนในพื้นที่ก็มีข้อจำกัดเนื่องจากขาดข้อมูลหรือความรู้เกี่ยวกับที่ดินสาธารณะทั้งยังมีความรู้ความเข้าใจในระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวกับที่ดินสาธารณะแบบจำกัด ซึ่งข้อมูลและความรู้ในเรื่องที่ดินสาธารณะและระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องนี้มีความสำคัญอย่างมากในการสร้างอำนาจการต่อรองกับระบบราชการและเพิ่มบทบาทการมีส่วนร่วมให้กับประชาชนในท้องถิ่น