Title | ลักษณะการทุจริตในการดำเนินโครงการยกระดับศักยภาพหมู่บ้านเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ ศึกษาในเขตอำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2560 |
Authors | ชาญณรงค์ เงยวิจิตร |
Degree | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ |
Institution | คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | JQ ช489 2560 |
Keywords | การทุจริต, การทุจริตและประพฤติมิชอบ--อุบลราชธานี, การทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ--อุบลราชธานี |
Abstract | การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ลักษณะการทุจริตในการดำเนินโครงการยกระดับ ศักยภาพหมู่บ้านเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ (2) สาเหตุในการทุจริตในของ การดำเนินของโครงการยกระดับศักยภาพหมู่บ้านเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทาง ประชารัฐ โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ดำเนินการสัมภาษณ์แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย (1) กลุ่มข้าราชการส่วนภูมิภาค (2) กลุ่มกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภา องค์การบริหารส่วนตำบล ประชาชนทั่วไป และ (3) กลุ่มผู้รับเหมา ผู้ประกอบการ ผลการวิจัยค้นพบว่า 1. ลักษณะการทุจริตในการดำเนินโครงการยกระดับศักยภาพหมู่บ้านเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ฐานรากตามแนวทางประชารัฐ พบ 3 ลักษณะ คือ ลักษณะการทุจริตโดยไม่ดำเนินโครงการตามกำหนด สเปค (SPEC) ของโครงการ ลักษณะการทุจริตโดยจัดซื้อและจ้างเหมาบริการในราคาที่สูงผิดปกติ เนื่องจากเป็นโครงการที่ชาวบ้านได้ประชาคมให้มีการลงมือจัดจ้างให้คนในหมู่บ้านทำกันเองปัญหาที่ พบ คือ ค่าขนส่งและราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นประมาณ 10-20% มีการแทรกแซงจากผู้รับเหมาเอกชนที่มา เสนอให้ผู้ใหญ่บ้านทำโครงการที่อยากจะให้ทำและได้ยืนเงื่อนไขให้ตกลงจ้างผู้รับเหมารายดังกล่าวโดย จะตอบแทนเป็นเงินทอนกลับคืน และลักษณะการทุจริตโดยละเว้นหน้าที่และทุจริตต่อหน้าที่เพื่อ ประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง เป็นต้น 2. สาเหตุในการทุจริตในของการดำเนินของโครงการยกระดับศักยภาพหมู่บ้านเพื่อขับเคลื่อน เศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ มีสาเหตุที่สำคัญ คือ (1) การกำหนดสเปค (SPEC) ของ โครงการ และระยะเวลาที่เร่งรีบของโครงการ และการกำหนดให้ดำเนินการพร้อม ๆ ทั้งประเทศ ส่งผลให้ราคาสินค้าหรือวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องมีราคาเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าช่วงเวลาปกติ (2) ปัญหา ความสามารถของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุการจัดตั้งชุดคณะกรรมการต่าง ๆ พบว่า หลายแห่ง ไม่มีความชำนาญการเฉพาะด้านเพียงพอ อีกทั้งบางส่วนคณะกรรมการยังเป็นเครือญาติพี่น้องกัน ย่อมง่ายต่อการรู้เห็นเป็นใจให้เกิดการทุจริตในโครงการได้สูง และ (3) การละหลวม/การผ่อนปรนของ ฝ่ายตรวจสอบและฝ่ายที่ปฏิบัติหน้าที่กำกับดูแล เนื่องจากเป็นโครงการเร่งด่วนของรัฐบาล คสช. เป็นต้น |
Title Alternate | Form of corruption in project to enhance villages' potential and strengthen grass-root economy under people's state approach, Don Mot Daeng district, Ubon Ratchathani |