Title | การจัดสมดุลสายการประกอบแบบตัวยูโดยใช้วิธีวิวัฒนาการโดยใช้ผลต่าง |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2561 |
Authors | พูนธนะ ศรีสระคู |
Degree | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต -- สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ |
Institution | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | TS พ847 2561 |
Keywords | กรรมวิธีการผลิต, การควบคุมกระบวนการผลิต, สายการประกอบแบบตัวยู, สายการผลิต |
Abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อพัฒนาวิธีการเมตาฮิวริสติก โดยใช้วิธีการวิวัฒนาการโดยใช้ ผลต่าง สำหรับการแก้ปัญหาและหาคำตอบที่ดีที่สุดในการจัดสมดุลสายการประกอบแบบตัวยูประเภท ที่ 1 ที่มีการผลิตสินค้าชนิดเดียว และทราบค่ารอบเวลาการผลิตที่แน่นอน โดยมีเป้าหมายเพื่อหา จำนวนสถานีงานที่น้อยสุด จากนั้นทำการเปรียบเทียบผลกับงานวิจัยอื่น ๆ ที่ผ่านมา สำหรับการจัดสมดุลสายการประกอบแบบตัวยูได้ทำการทดลองในปัญหาตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ 1) ปัญหาตัวยูที่มีขนาดกลาง (21-45 ขั้นงาน) ที่เป็นชุดโจทย์ปัญหาในการทดลองโดยวิธีระบบมด แบบแม็กมินไม่มีโลคอลเสิร์ช ของ นุชสรา เกรียงกรกฎ (2550) ทั้งหมด 25 instances จากผลการ ทดลองพบว่า วิธีวิวัฒนาการโดยใช้ผลต่างแบบพื้นฐานและวิธีวิวัฒนาการโดยใช้ผลต่างแบบปรับปรุงคำตอบ ให้ค่าคำตอบที่ดีกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีเมตาฮิวริสติกแบบอื่น ๆ คือสามารถหาคำตอบ ที่ดีที่สุด จำนวน 25 คำตอบ จากทั้งหมด 25 instances (เวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการคำนวณอยู่ระหว่าง 0.09 -1.56 วินาที/instance) ในขณะที่วิธีระบบมดแบบแม็กมินไม่มีโลคอลเสิร์ช สามารถหาคำตอบ ที่ดีที่สุดได้เพียง 23 คำตอบ จากทั้งหมด 25 instances และ 2) ปัญหาขนาดใหญ่ (75-297 ขั้นงาน 62 instances) จึงทําการเปรียบเทียบวิธีระบบมดแบบแม็กมินไม่มีโลคอลเสิร์ช จากผลการทดลอง พบว่าวิธีวิวัฒนาการโดยใช้ผลต่างแบบพื้นฐานและวิธีวิวัฒนาการโดยใช้ผลต่างแบบปรับปรุงคำตอบให้ ค่าคำตอบที่ดีกว่า และวิธี DE/best/2 ร่วมกับ Exponential Crossover 1 ให้ค่าคำตอบที่ดีที่สุดและ ใช้เวลาในการค้นหาคำตอบน้อยที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีเมตาฮิวริสติกแบบอื่น ๆ คือสามารถหา คำตอบที่ดีที่สุด จำนวน 36 คำตอบ จากทั้งหมด 62 instances (เวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการคำนวณอยู่ ระหว่าง 4.88 - 5.65 วินาที/instance) ในขณะที่วิธีระบบมดแบบแม็กมินไม่มีโลคอลเสิร์ช สามารถหา คำตอบที่ดีที่สุดได้เพียง 35 คำตอบ จากทั้งหมด 62 instances ดังนั้น สรุปได้ว่า วิธีวิวัฒนาการโดยใช้ผลต่างแบบพื้นฐานและวิธีวิวัฒนาการโดยใช้ผลต่างแบบ ปรับปรุงคำตอบให้ค่าคำตอบที่ดีกว่า และเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีเมตาฮิวริสติก อื่น ๆ ที่สามารถใช้ในการแก้ปัญหาการจัดสมดุลสายการประกอบแบบตัวยูได้ |
Title Alternate | U-shaped assembly line balancing by using differential evolution algorithm |