ปัจจัยแรงจูงใจและบรรยากาศองค์กรที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในจังหวัดอุบลราชธานี

Titleปัจจัยแรงจูงใจและบรรยากาศองค์กรที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในจังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2561
Authorsลำไพ พรมชัย
Degreeบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Institutionคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberHD ล346 2561
Keywordsการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค--การพัฒนาบุคลากร, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค--พนักงาน, บรรยากาศการทำงาน, ประสิทธิภาพการทำงาน, สภาพแวดล้อมการทำงาน--อุบลราชธานี
Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยแรงจูงใจ บรรยากาศองค์กร และประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในจังหวัดอุบลราชธานี2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแรงจูงใจและบรรยากาศองค์กร กับประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในจังหวัดอุบลราชธานี และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยแรงจูงใจและบรรยากาศองค์กรที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในจังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานและลูกจ้างการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 260 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิเครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามที่มีค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงเท่ากับ 0.947 วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ ผลวิจัยพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวปัจจัยแรงจูงใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.208 ประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.200 และบรรยากาศองค์กรในภาพรวมมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.176 2)ผลการวิเคราะห์ สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน พบว่า ปัจจัยแรงจูงใจ ด้านลักษณะของงาน ด้านความรับผิดชอบ และด้าน ความสำเร็จในการทำงาน มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรในระดับ ปานกลาง มีขนาดความสัมพันธ์ (rxy) เท่ากับ 0.587 0.581 และ 0.554ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนปัจจัยบรรยากาศองค์กร ด้านการยอมรับความขัดแย้ง ด้านความอบอุ่นและ การสนับสนุนมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรในระดับสูง มีขนาด ความสัมพันธ์ (rxy) เท่ากับ 0.627 0.601ตามลำดับ และด้านการให้รางวัลและการลงโทษ ด้านโครงสร้างขององค์กร มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรในระดับปานกลาง มีขนาดความสัมพันธ์ (rxy) เท่ากับ 0.588 0.529 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 3) ผลการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ พบว่า ตัวแปรทำนายทั้ง 7 ตัว มีความสัมพันธ์กับตัวแปร ประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรในระดับสูง (R = 0.782) ค่าสัมประสิทธิการทำนาย มีค่าเท่ากับ 0.600 นั่นคือชุดตัวแปรต้นสามารถทำนายประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรได้ร้อยละ 60 โดย ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรมี 4 ตัวแปร ดังนี้ ด้านความสำเร็จในการ ทำงาน (β = 0.267) ด้านลักษณะของงาน (β = 0.220) ด้านการยอมรับความขัดแย้ง (β = 0.204) และด้านการให้รางวัลและการลงโทษ (β = 0.169) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ค สมการทำนายรูปแบบคะแนนมาตรฐาน (β หรือ Beta) ของประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค = 0.267** (ความสำเร็จในการทำงาน) + 0.220** (ลักษณะของงาน) + 0.204** (การยอมรับความขัดแย้ง) + 0.169** (การให้รางวัลและการลงโทษ)

Title Alternate Motivation and organizational climate factors influencing the work efficiency of provincial electricity authority's personnel in Ubon Ratchathani province