Title | รูปแบบการค้าส่งชายแดนของผู้ประกอบการท้องถิ่นในอำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2561 |
Authors | ศศิกรานต์ วนัสบดีไพศาล |
Degree | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต |
Institution | คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | HF ศ287 2561 |
Keywords | การค้าชายแดน, การค้าส่ง -- มุกดาหาร, การค้าส่งชายแดน, ผู้ประกอบการ -- มุกดาหาร |
Abstract | การศึกษาครั้งนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยนำเข้ากระบวนการค้าส่งชายแดนของ ผู้ประกอบการค้าส่ง รูปแบบการค้าส่งชายแดนของผู้ประกอบการท้องถิ่น และปัญหาและอุปสรรคใน กระบวนการค้าชายแดนอำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้ประกอบการค้าส่งที่จำหน่ายสินค้า ในอำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ผู้ประกอบอาชีพกรรมกร ผู้ประกอบอาชีพขับรถรับจ้าง ผู้ประกอบอาชีพนายหน้า และ ลูกค้าชาวสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว (สปป.ลาว) ที่ซื้อสินค้ากับผู้ประกอบการค้าส่งใน อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ผู้วิจัย ได้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ได้ทำการตรวจสอบ ข้อมูลพร้อม ๆ กับที่เก็บข้อมูล เพื่อเป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในสนามทันที การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การบรรยายเชิงพรรณนา (Descriptive Narrative) โดยนำข้อมูลที่ได้รับจากการ สัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างมาจัดกลุ่มและวิเคราะห์ภาพรวมของข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการค้าชายแดนของผู้ประกอบการท้องถิ่น อำเภอเมือง จังหวัด มุกดาหาร สามารถกำหนดได้ 6 รูปแบบ โดยรูปแบบการค้าชายแดนที่มีความสะดวกและค่าใช้จ่าย น้อยที่สุด คือ รูปแบบการค่าชายแดน E ประเภทขนส่งสินค้าทางเรือโดยสารโดยใช้การสื่อสารสังคม ออนไลน์และรูปแบบการค้าชายแดน F ประเภทขนส่งสินค้าทางรถโดยสารโดยใช้การสื่อสารสังคม ออนไลน์รูปแบบที่ได้รับความนิยมสำหรับลูกค้าชาว สปป.ลาว ที่ต้องการมาเลือกซื้อสินค้าด้วยตนเอง โดยใช้วิธีการขนส่งสินค้ากลับไปยัง สปป.ลาวผ่านนายหน้า คือ รูปแบบการค้าชายแดน B ประเภท ขนส่งสินค้าทางเรือโดยสารแบบมีนายหน้า และรูปแบบการค้าชายแดน C ประเภทขนส่งสินค้าทางรถ โดยสารแบบมีนายหน้า ซึ่งผลการศึกษาครั้งนี้ พบว่านายหน้ามีบทบาทสำคัญในการค้าชายแดน โดย จะทำหน้าที่ดำเนินการขนส่งสินค้า จากจังหวัดมุกดาหาร ไปยังแขวงสะหวันนะเขต รวมถึงดำเนินการ เป็นผู้ทำพิธีศุลกากรในการส่งออกแทนลูกค้าชาว สปป.ลาว ปัญหาและอุปสรรคที่พบในกระบวนการค้าชายแดนอำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร เกิดจากการ เก็บภาษี 10% ของมูลค่าเครื่องใช้ที่มีมูลค่าเกินกว่า 1,500 บาท ที่ด่านศุลกากร สปป.ลาว ส่งผล กระทบทั้งต่อลูกค้าชาว สปป.ลาวและผู้ประกอบการ คือลูกค้าชาว สปป.ลาวไม่มีความมั่นใจว่าจะสามารถรับค่าใช้จ่ายในส่วนของการเก็บภาษีนี้เพิ่มได้จึงซื้อสินค้าน้อยลงเพื่อหลีกเลี่ยงภาระภาษี |
Title Alternate | Cross-national border trade: a model for local entrepreneurs in Mueang district, Mukdahan province |