การพัฒนารูปแบบการบัญชีในการบริหารเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของกลุ่มเย็บผ้าฝ้ายพื้นเมือง บ้านกกไอ ตำบลคำชะอี อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร

Titleการพัฒนารูปแบบการบัญชีในการบริหารเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของกลุ่มเย็บผ้าฝ้ายพื้นเมือง บ้านกกไอ ตำบลคำชะอี อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2559
Authorsสัจวัฒก์ วรโยธา, วิลาสินี แสงพระคำ, มนัสดา ชัยสวนียากรณ์, มงคล กิตติวุฒิไกร
Institutionคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberHF5686.C8 ส551ก 2559
Keywordsการจัดสรรค่าใช้จ่าย, การบริหารธุรกิจ, การบัญชี -- การจัดการ, การบัญชีต้นทุน, การแข่งขันในธุรกิจ
Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพลักษณะการประกอบการ ลักษณะของแนวทางการจัดทำบัญชี และสภาพปัญหาของกลุ่มเย็บผ้าฝ้ายพื้นเมือง บ้านกกได ตำบลคำชะอี อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร 2) เพื่อพัฒนาและเสนอรูปแบบของแนวทางการบัญชีที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการบริหารของกลุ่มเย็บผ้าฝ้ายพื้นเมือง บ้านกกไอ ตำบลคำชะอี อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร การวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และแบบสอบถามความคิดเห็นจากประธานกลุ่มและสมาชิกในกลุ่มรวมทั้งสิ้น 15 คน และนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์เชิงคุณภาพและรายงานผล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนาด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มเย็บผ้าฝ้ายพื้นเมือง บ้านกกไอ ไม่มีระบบบัญชีมีเพียงการบันทึกรายรับรายจ่ายโดยประธานกลุ่มยังขาดความเข้าใจในการจัดทำบัญชีส่งผลให้การบันทึกเกิดความซ้ำซ้อนอีกทั้งไม่มีเอกสารในการควบคุมรายการทางบัญชีจึงเกิดข้อผิดพลาดเกี่ยวกับเงินสด การคำนวณต้นทุนและการกำหนดราคาขาย เป็นต้น
คณะผู้วิจัยจึงได้มีการพัฒนารูปแบบการบัญชี โดยออกแบบรูปแบบสมุดบัญชีตามเกณฑ์เงินสดรวมทั้งหมด 7 เล่ม ประกอบด้วยสมุดบัญชีเงินสดรับ สมุดบัญชีเงินสดจ่าย สมุดคุมงานระหว่างทำ สมุดคุมสินค้า สมุดคุมวัตถุดิบ สมุดงบต้นทุนการผลิตและสมุดงบรายได้และค่าใช้จ่าย เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาฝึกปฏิบัติการ พบว่า ผู้รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีสามารถจัดทำบัญชีได้ กรรมการผู้เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือในการจัดทำเอกสารประกอบการบันทึกบัญชีเป็นอย่างดี ซึ่งการจัดทำบัญชีดังกล่าวก่อให้เกิดประโยชน์แก่กลุ่ม คือ ทำให้รู้รายรับ รายจ่าย สามารถนำมาเป็นแนวทางในการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลงได้และนำมาใช้ในการวางแผนการดำเนินงานในอนาคตและเมื่อวัดระดับความเห็นของสมาชิกต่อการพัฒนารูปแบบการบัญชีในการบริหารเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของกลุ่มเย็บผ้าฝ้ายพื้นเมือง บ้านกกไอ พบว่า รูปแบบการบัญชีมีความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยสมาชิกกลุ่มให้ความเห็นว่า การพัฒนารูปแบบการบัญชีที่เกิดขึ้นมีความเหมาะสมกับกลุ่มทำให้ทราบผลการดำเนินงานของกลุ่มอย่างแท้จริงส่งผลให้กลุ่มเกิดความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน

Title Alternate The development accounting model for management to enhancing potential competition of community enterprises in textile product in Ban Kokhi Tambol Komchai Amphor Komchai Mukdahan provice