การศึกษาองค์ประกอบทางเคมี และฤทธิ์ทางชีวภาพของน้ำนมราชสีห์

Titleการศึกษาองค์ประกอบทางเคมี และฤทธิ์ทางชีวภาพของน้ำนมราชสีห์
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2554
Authorsสุดารัตน์ หอมหวล
Institutionคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberRS165.E9 ส769ก 2554
Keywordsการสกัด (เคมี), การสกัดด้วยสารตัวทำละลาย, น้ำนมราชสีห์, พืชเป็นยา, ฤทธิ์ทางชีวภาพ, องค์ประกอบทางเคมี
Abstract

ดำเนินการศึกษาองค์ประกอบทางเคมี และฤทธิ์ทางชีวภาพ ของส่วนเหนือดินต้นน้ำนมราชสีห์ (Euphorbia hirta L.) โดยนำผงจากส่วนเหนือดินมาสกัดด้วยตัวทำละลาย 4 ชนิด คือ เฮกเซน, ไดคลอโรมีเทน, เอทิลอะซีเตต และเมทานอล ตามลำดับ ด้วยเครื่อง soxhlet นำสารสกัดแต่ละชนิดมาทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพประกอบด้วย ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในการจับอนุมูลอิสระ DPPH, ฤทธิ์ต้านจุลชีพด้วยวิธีเจือจางในอาหารเหลวต่อเชื้อ 2 ชนิด คือ Propionicbacterium acnes และ Staphylococcus epidermidis และฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส สารสกัดที่ออกฤทธิ์จับอนุมูลอิสระได้สูงสุดคือ สารสกัดเอทิลอะซีเตต รองลงมา คือ สารสกัดเมทานอล โดยมีค่า EC50 เท่ากับ 24.54 และ 28.75 µg/mL ตามลำดับ ส่วนสารสกัดเฮกเซน และสารสกัดไดคลอโรมีเทนไม่ออกฤทธิ์ ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย พบว่า สารสกัดที่ออกฤทธิ์ได้ดีที่สุดต่อเชื้อแบคทีเรียทั้งสองชนิด คือ สารสกัดเอทิลอะซีเตต โดยมีค่า MBC ต่อเชื้อ S.epidermidis และ P.acnes เท่ากับ 50 และ 100 mg/mL ตามลำดับ ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส พบว่าสารสกัดที่ออกฤทธิ์ยับยั้งได้มากกว่า 50% คือ สารสกัด Ethyl acetate และสารสกัด Methanol โดยมี % Tyrosinase Inhibition เท่ากับ 50.25% และ 61.59% ตามลำดับ
ผลทดสอบแสดงว่าสารสกัดเอทิลอะซีเตตออกฤทธิ์ดีที่สุด จึงได้ทำการแยกส่วนสารสกัดเอทิลอะซีเตต ด้วยวิธี sephadex LH-20 คอลัมภ์โครมาโตรกราฟี จนกระทั่งได้สารที่ออกฤทธิ์ เมื่อทำการพิสูจน์โครงสร้างด้วย IR 1H และ 13C NMR Spectroscopy พบว่าคือ quercitrin และ chlorogenic acid การทดสอบฤทธิ์ของสารบริสุทธิ์ทั้งสองชนิด พบว่า สาร quercitrin และ chlorogenic acid ที่แยกได้ ออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ DPPH โดยมีค่า EC50 เท่ากับ 2.14 และ 2.19 µg/mL ตามลำดับ โดยที่สารทั้งสองชนิด ไม่มีฤทธิ์ต้านเอนไซม์ไทโรซิเนส

Title Alternate Chemical constituents and biological activities of Euphorbia hirta L.