วิธีหาคำตอบสำหรับการแก้ไขปัญหาการเลือกสถานที่ตั้งและการจัดเส้นทางการขนส่งสำหรับโรงไฟฟ้าชีวมวล

Titleวิธีหาคำตอบสำหรับการแก้ไขปัญหาการเลือกสถานที่ตั้งและการจัดเส้นทางการขนส่งสำหรับโรงไฟฟ้าชีวมวล
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2560
Authorsชำนาญ พูลสวัสดิ์
Degreeปรัชญาดุษฎีบัณฑิต -- สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberT ช532ว 2560
Keywordsการขนส่ง -- โปรแกรมคอมพิวเตอร์, การจัดเส้นทางการขนส่ง, การเลือกสถานที่ตั้ง, ฮิวริสติก, โรงไฟฟ้าชีวมวล
Abstract

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิธีการในการหาคำตอบสำหรับการแก้ปัญหาการเลือกสถานที่ตั้งและ การจัดเส้นทางการขนส่งสำหรับโรงไฟฟ้าชีวมวล โดยมีวัตถุประสงค์ในการหาต้นทุนรวมต่ำสุด รูปแบบ การวิจัยมุ่งเน้นในการหาคำตอบของปัญหาโดยกำหนดขอบเขตด้านพื้นที่เป้าหมายที่ชัดเจนเพื่อใช้เก็บ ข้อมูลพื้นฐานในการกำหนดวิธีการแก้ปัญหา และพิจารณาปัจจัยด้านต้นทุน 3 อย่างคือ 1) ต้นทุน ในการสร้างโรงไฟฟ้า 2) ต้นทุนในการติดตั้งสายส่งไฟฟ้าและ 3) ต้นทุนการขนส่งวัตถุดิบ ในการหาคำตอบของปัญหาผู้วิจัยได้ทำการออกแบบและทดสอบอัลกอริทึมกับปัญหาจริง สามารถสรุปวิธีการหาคำตอบของปัญหาดังกล่าวได้จำนวน 5 วิธีประกอบด้วย 1) วิธีการจัดสรรงาน (Location Assignment) 2) วิธีการจัดเส้นทางการขนส่ง (Vehicle Routing) 3) วิธีการจัดลำดับ การค้นหาคำตอบข้างเคียง (Sequence Ordered Neighborhood Methods) 4) วิธีการสุ่มการ ค้นหาคำตอบข้างเคียง (Random Selection Neighborhood Methods) และวิธีที่ 5 ผู้วิจัยได้ทำการพัฒนาวิธีการหาคำตอบของปัญหาขึ้นมาใหม่ซึ่งในที่นี้เรียกว่าวิธี Partition Tabu MDVRP โดย ใช้ การค้นหาแบบทาบู (Tabu Search) ร่วมกับการสุ่มวิธีการหาคำตอบข้างเคียง (Neighborhood Search) และนำคำตอบที่ได้แบ่งเป็น 2 ชุดและสุ่มมา 1 ชุดเพื่อค้นหาในพื้นที่แคบลงซึ่งเป็นการค้นหา แบบเข้มข้นขึ้น และนำวิธีการดังกล่าวเขียนโปรแกรม Visual Studio 15 จากนั้นนำวิธีที่พัฒนาขึ้น ทดสอบกับปัญหาจริง ผลการทดสอบพบว่าคำตอบที่ได้ดีกว่าทั้ง 4 วิธีที่ผ่านมาและเมื่อ วัดประสิทธิภาพของคำตอบด้วยโปรแกรม Lingo 13 กับปัญหาขนาดเล็กขนาดกลางขนาดใหญ่ พบว่า คำตอบที่ได้มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ซึ่งถือว่าวิธีดังกล่าว มีประสิทธิภาพสามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาจริงได้ ผลการหาคำตอบสำหรับการแก้ปัญหาการเลือกสถานที่ตั้งและการจัดเส้นทางการขนส่งสำหรับโรงไฟฟ้าชีวมวลของจังหวัดสงขลา พบว่า พื้นที่จังหวัดสงขลา เหมาะสมที่จะสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล โดยใช้วัตถุดิบจากไม้ยางพาราที่ขนาดกำลังการผลิต 9.5 เมกะวัตต์ จำนวน 6 โรง โดยตำแหน่ง ที่เหมาะสมในการตั้งโรงไฟฟ้าคือ ตำแหน่งที่ 2 (ตำบลทุ่งลาน อำเภอคลองหอยโข่ง) ตำแหน่งที่ 27 (ตำบลสะเดา อำเภอสะเดา) ตำแหน่งที่ 32 (ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอสะเดา) ตำแหน่งที่ 41 (ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่) ตำแหน่งที่ 69 (ตำบลนาทวี อำเภอนาทวี) และตำแหน่งที่ 85 (ตำบลเขาแดง อำเภอสะบ้าย้อย) โดยมีต้นทุนการขนส่งรวม 15,343.6 บาทต่อวัน และต้นทุนรวม 662,316.56 บาทต่อวัน

Title Alternate Solving location routing problem for biomass power plant