การศึกษาและพัฒนางานหัตถกรรมของที่ระลึกจากไม้ยูคาลิปตัส

Titleการศึกษาและพัฒนางานหัตถกรรมของที่ระลึกจากไม้ยูคาลิปตัส
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2551
Authorsภัทรพงษ์ ไชยเชษฐ์
Degreeศิลปประยุกต์มหาบัณฑิต -- สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์
Institutionคณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTT ภ366ก
Keywordsการออกแบบผลิตภัณฑ์, ของที่ระลึก, หัตถกรรม, ไม้ยูคาลิปตัส
Abstract

ไม้เป็นวัสดุธรรมชาติที่ผู้คนในท้องถิ่นได้มีการเรียนรู้เพื่อนำมาใช้ปลูกสร้างเป็นที่พักอาศัยและเรียนรู้การคัดเลือกชนิดของไม้ต่างๆมาใช้ในการผลิตเครื่องใช้ได้อย่างเหมาะสม ในอดีตป่าไม้มีความอุดมสมบูรณ์มากทำให้ไม่มีปัญหาทางด้านวัสดุ แต่ปัจจุบันสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเปลี่ยนไป ไม้หลายชนิดกลายเป็นไม้สงวนที่มีกฏหมายคุ้มครองเนื่องจากมีอัตราลดน้อยลง ดังนั้นทางเลือกสำหรับหัตถกรรมไม้จึงลดน้อยลงมาก ดังนั้นการเสาะแสวงหาพันธุ์ไม้ชนิดใหม่ในงานหัตถกรรมจึงเป้นความจำเป็นต่อการสึกษาค้นคว้า ไม้ยูคาลิปตัสถือได้ว่าเป็นไม้เศรษฐกิจของไทยแม้ว่าจะเป็นพันธุ์ไม้ที่ได้มาจากต่างประเทศแต่ความนิยมในการปลูกมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น เพราะมีประโยชน์มากต่องานอุตสาหกรรมกระดาษ และงานก่อสร้าง ผู้วิจัยเล็งเห็นว่าจากลักษณะของไม้ยูคาลิปตัสโดยทั่วไป น่าจะพัฒนาใช้ในงานหัตถรรมของที่ระลึกจากไม้ยูคาลิปตัสได้เพื่อทดแทนไม้ชนิดอื่น ๆ ที่กำลังหมดไปจากป่า จึงตั้งสัตถุประสงค์ในการวิจัยไว้ 3 ประการดังนี้ 1) เพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพของไม้ยูคาลิปตัว 2) เพื่อศึกษาและทดลองหาความเหมาะสมในการนำไม้ยูคาลิปตัสมาพัฒนาเป็นงานหัตถกรรมในท้องถิ่น 3) เพื่อศึกษาแนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากไม้ยูคาลิปตัว ที่มีความสอดคล้องกับความต้องการของตลาดในยุคปัจจุบัน
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า การผลิตงานหัตถรรมจากไม้ในปัจจุบันนิยมผลิตใน 2 ลักษณะคือ 1) การใช้เครื่องจักรมาเป็นส่วนประกอบในการผลิตเรียกว่างานหัตถอุตสาหกรรม 2) การผลิตแบบงานฝีมือตลอดกระบวนการ จากการสำรวจงานหัตถกรรมไม้ส่วนใหญ่ชาวบ้านจะนิยมผลิตเป็นงานฝีมือ เพราะไม้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และผู้บริโภคมีความต้องการสุงมาโดยตลอดเฉพาะงานแกะสลัก งานฉลุ และงานประกอบชิ้นส่วนขึ้นรูปทรงเป็นของใช้และของที่ระลึก การทดลองนำไม้ยูคาลิปตัสมาพัฒนาเป็นงานหัตถกรรมในครั้งนี้ เป็นการใช้ข้อมูลในกเรื่องขั้นตอนการผลิต การประยุกต์ และการตกแต่งที่มีอยู่ในงานหัตถกรรมไม้ในปัจจุบัน แล้วนำมาพัฒนาหาความเหมาะสมกับงานหัตถกรรมไม้ยูคาลิปตัวทั้งนี้ต้องให้มีความสอดคล้องกับความต้องการทางด้านตลาดในยุคปัจจุบัน ซึ่งการศึกษาทดลองพบว่า ไม้ยูคาลิปตัวสามารถนำมาสร้างงานหัตถกรรมคุณสมบัติมีความใกล้เคียงไม้ชนิดอื่น ๆ หลายชนิด สำหรับในการศึกษาขั้นตอนการผลิต เทคนิคการผลิต และการกำหนดเป็นแนวคิดในการออกแบบ ไม้ยูคาลิปตัวสามารถแปรรูปเป็นแผ่นบางได้ดี สามารถประกอบเป็นชั้นงานตามความต้องการได้ การแปรรูปเป็นแผ่นไม่ควรบางเกินกว่า 2 เซนติเมตร เพราะหากมีความบางมากไม้จะฉีก และแตก นอกจากนี้ในส่วนลำต้นของไม้ยูคาลิปตัสยังสามารถตัดแต่งเป็นท่อนเพื่อผลิตรูปทรงงานตามแบบได้ดี ส่วนการตกแต่งสีไม้ยูคาลิปตัวสามารถติดสีได้ดี ซึ่งขึ้นอยู่กับอัตราส่วนผสมและลักษณะสีที่ตลาดต้องการ ไม้ยูคาลิปตัสถึงแม้จะเป็นไม้ที่ยังไม่เป็นที่นิยมนำมาผลิตในงานหัตถกรรม แต่หากช่างฝีมือในท้องถิ่นได้ดังผลสรุปในการวิจัยนี้

Title Alternate A study and development of souvenir handcrafts from eucalyptus