รูปแบบเครือข่ายการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่เหมาะสมของชุมชนบ้านอาลึ และชุมชนบ้านอ้อมแก้ว จังหวัดสุรินทร์

Titleรูปแบบเครือข่ายการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่เหมาะสมของชุมชนบ้านอาลึ และชุมชนบ้านอ้อมแก้ว จังหวัดสุรินทร์
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2561
Authorsทิพย์สุวรรณ แซ่ลี้
Degreeศิลปศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชานวัตกรรมการท่องเที่ยว
Institutionคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberG ท473ร 2561
Keywordsการจัดการท่องเที่ยว, การท่องเที่ยว -- การจัดการ -- สุรินทร์, การท่องเที่ยวโดยชุมชน -- สุรินทร์, สุรินทร์ -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว, อุตสาหกรรมท่องเที่ยว การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ -- การจัดการ
Abstract

งานวิจัยและพัฒนาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทและศักยภาพทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนของสองชุมชน พัฒนารูปแบบเครือข่ายการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน และเสนอรูปแบบ เครือข่ายการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนระหว่างสองชุมชน ใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างเจาะจง โดยไม่ อาศัยความน่าจะเป็น ได้กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้นำชุมชน และคณะกรรมการการท่องเที่ยวโดย ชุมชนของทั้งสองแห่ง จำนวน 30 คน ผลการวิจัยพบว่า (1) บริบทและศักยภาพทางการท่องเที่ยวของชุมชนทั้งสองแห่ง มีบริบทที่แตกต่างกัน มีวัฒนธรรมไทยอีสานที่มีกลุ่มชาติพันธุ์ลาว ส่วย และเขมร และศักยภาพทางการท่องเที่ยวของชุมชน แต่ละแห่งมีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่เป็นเอกลักษณ์และความโดดเด่นเฉพาะตัวของแต่ละชุมชน ซึ่งสามารถเอื้อประโยชน์แก่กันได้อย่างลงตัวและนำมาพัฒนาเป็นโปรแกรมนำเที่ยวของเครือข่ายของ สองชุมชนได้อย่างเหมาะสม (2) การพัฒนารูปแบบเครือข่ายการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนทั้งสอง ผ่าน การฝึกอบรม การศึกษาดูงานระหว่างชุมชน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และฝึกอบรมใน ด้านการบริหารจัดการ การจัดการแหล่งท่องเที่ยวและโปรแกรมนำเที่ยวด้วยการวางแผนการจัดการ สร้างโปรแกรมนำเที่ยวและองค์กรเครือข่าย การจัดการนำเที่ยวของมัคคุเทศก์ท้องถิ่นวางแผน ตลอดจนการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ การจัดการที่พักแบบโฮมสเตย์และการให้บริการต่าง ๆ โดย ปฏิบัติตามมาตรฐานการให้บริการของโฮมสเตย์ไทยและพัฒนาคุณภาพการให้บริการ การพัฒนาสินค้า ที่ระลึกโดยนำสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของทั้งสองชุมชนพัฒนาเป็นสินค้าที่ระลึกของเครือข่าย การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ด้วยการจัดทำแผ่นพับนำเสนอกิจกรรมการท่องเที่ยว รวมถึงการทำเพจเฟสบุ๊ค ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของเครือข่ายด้วย (3) เสนอรูปแบบเครือข่ายการจัดการท่องเที่ยว โดยชุมชนระหว่างสองชุมชน เป็นรูปแบบเครือข่ายอย่างแท้จริงคือ สมาชิกในเครือข่ายมีการรับรู้ที่เหมือนกัน เข้าใจการวางแผนการจัดการไปในทิศทางเดียวกัน มีวิสัยทัศน์และเป้าหมายเดียวกัน ทำตามแนวทางปฏิบัติที่ร่วมกันวางแผน มีการวางแผนการแบ่งปันผลประโยชน์กัน มีส่วนร่วมในการแบ่งปันประสบการณ์ มีการพึ่งพาอาศัยกันไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยว ความรู้และบุคลากร ตลอดจนมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

Title Alternate The model of suitable community-based tourism management network of Alue community and Omkaew community of Surin province