Title | นโยบายการพัฒนาอีสานของรัฐบาลสยามตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวระหว่าง พ.ศ.2453-2477 |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2561 |
Authors | พีรภัทร ห้าวเหิม |
Degree | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาประวัติศาสตร์ |
Institution | คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | DS พ793น 2561 |
Keywords | การพัฒนาชนบท -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), การพัฒนาชุมชน -- ไทย(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), การพัฒนาอีสาน, ชนทบทอีสาน, ชุมชนอีสาน, นโยบายการพัฒนา, อีสาน -- ความเป็นอยู่และประเพณี |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบายการพัฒนาอีสานสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่าง พ.ศ.2453-2477 โดยใช้ระเบียบวิธีการทางประวัติศาสตร์ (Historical Approach) และนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ (Analytical Description) ผลการวิจัยพบว่า นโยบายการพัฒนาอีสานแบ่งออกเป็น 3 ประเด็น คือ (1) กระบวนการกำหนดนโยบาย รัฐบาลมีขั้นตอนในการกำหนดนโยบายเข้าไปพัฒนาอีสาน 3 ขั้นตอน ประกอบด้วยขั้นที่หนึ่ง เกิดจากการลงพื้นที่ตรวจราชการจากข้าราชการในท้องถิ่นและเชื้อพระวงศ์ระดับสูงนำส่งรายงานตรวจราชการไปส่วนกลางเพื่อขอนโยบายหรือเสนอโครงการต่อรัฐบาล ขั้นที่สอง กระทรวงรับเรื่อง ดำเนินการประชุมและส่งเรื่องไปกราบทูลรายงานพระมหากษัตริย์ เพื่อขอพระบรมราชวินิจฉัย หรือให้เสนาบดีเป็นผู้ตัดสินใจในการกำหนดนโยบาย ขั้นที่สาม กระทรวงสมุหเทศาภิบาลดำเนินนโยบายต่อไปใน พ.ศ.2475 พบว่า การลงพื้นที่ตรวจราชการของข้าราชการระดับเชื้อพระวงศ์ได้ยุติบทบาทไป อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นประชาธิปไตย จึงทำให้หน้าที่ในการตรวจราชการเป็นภารกิจของนายทหารระดับสูงที่มาจาก “คณะกรรมการราษฎร” ทำให้รูปแบบโครงสร้างการปกครองแบบเทศาภิบาลที่มีสมุหเทศาภิบาลเป็นผู้บริหารได้รับการถ่ายโอนอำนาจมาเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดแทน
(2)การดำเนินนโยบายพัฒนาอีสาน พบว่า การพัฒนาอีสานในสมัยรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 กระทำผ่านกระทรวง สั่งการลงไปยังสมุหเทศาภิบาล ผู้ว่าราชการ นายอำเภอ กำนันและผู้ใหญ่บ้าน แบ่งออกเป็น 4 ด้านหลัก ประกอบด้วยด้านการปกครอง คมนาคม เศรษฐกิจ การศึกษา รองลงมาคือสาธารณสุข และป่าไม้ ในแต่ละมณฑลจะมีแผนกมหาดไทยทำหน้าที่หลักในการบริหารงานในด้านการปกครอง มีนโยบายสำรวจประชากร การตั้ง แบ่งอาณาเขตการปกครอง นอกจากนี้ยังมีแผนกโยธาทำหน้าที่รับผิดชอบก่อสร้างสาธารณูปโภคต่าง ๆ แผนกศาลทำหน้าที่ด้านการศาลยุติธรรม แผนกสรรพากร ทำหน้าที่เก็บภาษีอากรประเภทต่าง ๆ ด้านการคมนาคมและเศรษฐกิจ มีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม รวมถึงกระทรวงเกษตราธิราชรับผิดชอบร่วมกัน โดยเน้นในเรื่องการพัฒนาระบบการขนส่งที่ทันสมัย คือ การสร้างเส้นทางรถไฟเพื่อรองรับผลผลิตทางการเกษตรในอีสานโดยเฉพาะข้าว ด้านการศึกษาพบว่า มีการตรากำหมายทางการศึกษาตั้งแต่รัชกาลที่ 6 จนถึงสมัยรัชกาลที่ 7 อย่างไรก็ตามราษฎรชาวอีสานก็ไม่นิยมส่งบุตรหลานเข้าโรงเรียนอันเนื่องมาจากในทศวรรษ 2450-2460 อีสานต้องประสบกับปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันบ่อยครั้ง ทำให้เกิดภาวะทุพภิกขภัย ราษฎรจึงต้องนำบุตรหลานของตนไปช่วยประกอบสัมมาอาชีพ
(3) ผลการดำเนินนโยบาย พบว่า รัฐบาลสยามเข้าไปดำเนินนโยบายพัฒนาอีสานระหว่าง พ.ศ.2453-2477 โดยมีการส่งข้าราชการระดับสูงลงพื้นที่ตรวจราชการ และกำหนดนโยบายพัฒนาในรูปแบบการ “ตรากฎหมาย” หรือข้อบังคับ ประกาศต่าง ๆ ที่มีความเหมาะสมต่อพื้นที่ในแต่ละมณฑล โดยคำนึงประโยชน์ที่รัฐบาลและราษฎรในท้องถิ่นจะได้รับร่วมกัน โดยเฉพาะการตรากฎหมายด้านคมนาคม และเศรษฐกิจ ซึ่งมีความสำคัญมากต่อประเทศสยามในขณะนั้น ขณะเดียวกันกระบวนการเข้าไปกำหนดนโยบายพัฒนาอีสานในทศวรรษ 2470 ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม คือ การส่งนักวิชาการชาวต่างชาติ 3 คน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจเข้าไปตรวจราชการจำนวน 3 ครั้ง สะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาลมุ่งหวังที่จะได้รับประโยชน์จากท้องถิ่นอีสานในด้านเศรษฐกิจ โดยอาศัยข้อมูลจากการสำรวจสภาพทางเศรษฐกิจระหว่าง พ.ศ.2470-2477 มาช่วยกำหนดนโยบายเข้าไปแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ เรื่องข้าว และปัญหาอื่น ๆ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับพลเมืองชาวอีสาน ทั้งนี้รัฐบาลยังได้เข้าไปพัฒนาคุณภาพชีวิตของพลเมืองผ่านการเรียนการสอนในโรงเรียน โดยการกำหนดโครงการศึกษาเป็น 2 ระยะ คือ ระยะแรกระหว่าง พ.ศ.2468-2474 และระยะสองระหว่าง พ.ศ.2475-2481 ซึ่งเน้นไปที่การสอนวิชากสิกรรม หัตถกรรม พณิชยกรรม รวมทั้งวิชาจริยศึกษา ส่งเสริมให้ใช้ภาษาไทยและการออกกำลังกายให้มีสุขภาพแข็งแรงเพื่อเป็นกำหลังของชาติและสร้างความเป็นพลเมืองไทยที่มีกรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางอำนาจ นอกจากนี้การเข้ามามีบทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์สาธารณะยังได้ช่วยเร่งด่วน
|
Title Alternate | The development policy of Isan region by Siam government from the reign of King Rama VI to the reign of King Rama VII during 1910 - 1934 |