ปัญหาการบริหารนโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ : บทสะท้อนจากมุมมองของผู้บริหารเทศบาลนครอุบลราชธานี

Titleปัญหาการบริหารนโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ : บทสะท้อนจากมุมมองของผู้บริหารเทศบาลนครอุบลราชธานี
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2560
Authorsสมปรารถนา วิกรัยเจิดเจริญ
Degreeรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
Institutionคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberJS ส259ป 2560
Keywordsการปกครองท้องถิ่น -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), นโยบายสาธารณสุข -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
Abstract

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะปัญหาการบริหารนโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับเทศบาลนคร ภายใต้มุมมองของผู้บริหาร 2) แนวทางการแก้ไขปัญหาการบริหารนโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับเทศบาลนคร โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ดำเนินการสัมภาษณ์แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย ฝ่ายบริหาร หัวหน้าส่วน ราชการที่เกี่ยวข้อง และกลุ่มอื่น ๆ ที่ปฏิบัติหน้าที่กำกับดูแลหรือตรวจสอบ ผลการวิจัยค้นพบว่า
1) ลักษณะปัญหาการบริหารนโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับเทศบาลนครภายใต้มุมมองของผู้บริหาร มีความสัมพันธ์กับปัญหากลุ่มทางการเมืองในท้องถิ่น กล่าวคือ ปัญหาความขัดแย้งกันระหว่างฝ่ายบริหารชุดใหม่ กับฝ่ายสภาเทศบาลนครอุบลราชธานีซึ่งสมาชิกทั้งหมดสังกัดกลุ่มการเมืองท้องถิ่นกับฝ่ายบริหารชุดเดิม แม้ว่าเทศบาลนครอุบลราชธานีจะเป็นเทศบาลขนาดใหญ่ มีงบประมาณในการบริหารปีละไม่ต่ำกว่า 600 กว่าล้านบาทและมีเงินสะสมไม่ต่ำกว่า 300 กว่าล้านบาท แต่ฝ่ายบริหารไม่สามารถทำงานได้ตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อสภาก่อนเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ โดยฝ่ายบริหารมองว่า เพราะไม่ได้รับความร่วมมือจากฝ่ายสภา ฝ่ายบริหารมองว่า ฝ่ายสภานำความขัดแย้งทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องกับการพิจารณาตัดลดงบประมาณ รวมทั้ง ปัญหาฝ่ายข้าราชการประจำมีการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย ไม่ให้ความร่วมมือทำให้การดำเนินงานตามนโยบายไม่เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้
ขณะที่ตัวแทนฝ่ายสภาที่ปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบฝ่ายบริหาร เห็นว่าที่ต้องตัดหรือปรับลดงบประมาณลงเพราะเห็นว่าผิดระเบียบ ความล่าช้าในการนำงบประมาณรายจ่ายประจำปีเข้ามาพิจารณาหรือขาดการกำกับดูแลจากฝ่ายบริหารในช่วงแปรญัตติเป็นต้น
2) แนวทางการแก้ไขปัญหาการบริหารนโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับเทศบาลนครที่สำคัญเช่น จัดหางบประมาณจากหน่วยอื่นที่มีงบอุดหนุนให้กับท้องถิ่นได้เช่น งบพัฒนาของจังหวัด งบพัฒนาจากกระทรวงต่าง ๆ เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับประชาชนและชุมชนให้มีพลังเข้มแข็งที่จะช่วยผลักดันและต่อรองเชิงนโยบายหรือโครงการสำคัญกับกลุ่มการเมืองท้องถิ่นได้รวมทั้งประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาคเอกชน หรือภาครัฐอื่น ๆ โดยเฉพาะหน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่ กำกับดูแล เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาด้านกฎระเบียบ และบางโครงการควรร่วมลงทุนกับภาคเอกชนหรือสนับสนุนให้ภาคเอกชนดำเนินการแทน เป็นต้น

Title Alternate The problems of policy management in large local administrative : reflections from the perspective of Ubon Ratchathani municipality