การประเมินผลการจัดการแบบมีส่วนร่วมของผลผลิตประมงและผลผลิตจากป่าในแหล่งน้ำกรณี ศึกษาพื้นที่ชุมชนเขตหนองผือ โดยรอบมหาวิทยาลัยสะวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว

Titleการประเมินผลการจัดการแบบมีส่วนร่วมของผลผลิตประมงและผลผลิตจากป่าในแหล่งน้ำกรณี ศึกษาพื้นที่ชุมชนเขตหนองผือ โดยรอบมหาวิทยาลัยสะวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2561
Authorsสุขสาคร แพงสีแก้ว
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
Institutionคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberSD ส743ก 2561
Keywordsการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ -- สะวันนะเขต -- ลาว, ทรัพยากรป่าไม้ -- การใช้ประโยชน์, ทรัพยากรสัตว์น้ำ -- การใช้ประโยชน์, ทรัพยากรสัตว์น้ำ -- สะวันนะเขต -- ลาว, ป่าชุมชน -- การใช้ประโยชน์, ผลผลิตจากป่า, ผลผลิตประมง
Abstract

การประเมินมูลค่าผลผลิตประมงและผลผลิตจากผ่าที่ไม่ใช่เนื้อไม้ของป่าในแหล่งน้ำกรณีศึกษาพื้นที่ชุมชนเขตหนองผือ โดยรอบมหาวิทยาลัยสะวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินมูลค่าการใช้ประโยชน์ทางตรงของผลผลิตประมงและผลผลิตจากป่าที่ไม่ใช่เนื้อไม้จากป่าในแหล่งน้ำพื้นที่ชุมชนเขตหนองผือ โดยรอบมหาวิทยาลัยสะวันนะเขต และประเมินสถานภาพของการจัดการร่วมทรัพยากรประมงระหว่างชุมชนกับภาครัฐ การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยทำการสุ่มตัวอย่างของกลุ่มประชากร คำนวณตามหลักการของ Yamane, (1973) มีค่าความคาดเคลื่อนร้อยละ 0.05 ซึ่งได้ครัวเรือนตัวอย่างทั้งหมด 400 ครัวเรือน จาก 4 หมู่บ้านในพื้นที่ศึกษา การประเมินมูลค่าของผลิตภัณฑ์ใช้วิธีการประเมินราคาทางตลาด
ผลการศึกษาพบว่า มูลค่าของผลผลิตประมงเท่ากับ 625,100 บาทต่อปี เฉลี่ยเท่ากับ 6,251 บาท/ครัวเรือน/ปี ซึ่งได้จากปริมาณสัตว์น้ำที่สำรวจ คิดเป็นน้ำหนักรวม 6,429 กิโลกรัมต่อปี ส่วนมูลค่าโดยรวมผลิตภัณฑ์จากป่าที่ไม่ใช่เนื้อไม้ คิดเป็นเงิน 3,166,632 บาท/ปี ซึ่งประเมินจากปริมาณรวมของผลิตภัณฑ์จากป่าที่ไม่ใช่เนื้อไม้ 7 กลุ่ม ได้แก่ เห็ดกินได้มีมูลค่ารวม 466,800 บาทต่อปี ผักป่ามีมูลค่ารวม 636,780 บาทต่อปี หน่อไม้มีมูลค่ารวม 130,820 บาทต่อปี ไม้ฟืนมีมูลค่ารวม 220,588 บาทต่อปีแมลงและไข่มดแดงมีมูลค่ารวม 446,580 บาทต่อปี พืชสมุนไพรมีมูลค่ารวม 464,535 บาทต่อปี และพืชอาหารสัตว์มีมูลค่ารวม 797,529 บาท/ต่อปี โดยผลิตภัณฑ์จากป่าที่ไม่ใช่เนื้อไม้ทั้ง 7 กลุ่มนี้ มาจากครัวเรือนตัวอย่างทุกหมู่บ้าน คิดเป็นน้ำหนักรวม 31,639 กิโลกรัมต่อปี ซึ่งเมื่อรวมกับปริมาณสัตว์น้ำที่สำรวจได้ 6,429 กิโลกรัมต่อปี ได้ปริมาณของทรัพยากรทั้ง 2 ประเภท รวมเป็น 38,068 กิโลกรัมต่อปี สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจรวมไม่ต่ำกว่า 3,791,732 บาทต่อปี โดยคิดมูลค่าเฉลี่ยต่อครัวเรือนของหมู่บ้านในพื้นที่ศึกษาได้เท่ากับ 37,917.32 บาทต่อครัวเรือนต่อปี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของป่าในแหล่งน้ำพื้นที่ชุมชนเขตหนองผือที่มีต่อการดำรงชีวิตของชุมชน
ผลการประเมินสถานภาพหรือโอกาสของการจัดการร่วมทรัพยากรประมงระหว่างชุมชนกับภาครัฐที่ผ่านมาพบว่า ค่าเฉลี่ยของเงื่อนไขที่ชี้ความสำเร็จ 11 เงื่อนไข เท่ากับ 3.00 มีสัดส่วนของการปฏิบัติหน้าที่ของภาคประชาชนผู้ใช้ทรัพยากรสัตว์น้ำร้อยละ 38.50 แสดงว่าแนวทางการจัดการร่วมในการจัดการทรัพยากรประมงในพื้นที่ยังต้องมีการปรับปรุงกิจกรรมการมีส่วนร่วมให้สมบูรณ์เป็นที่ยอมรับได้บนพื้นฐานบริบทของชุมชน

Title Alternate Evaluation of fishery and forest products and co-management : a case study of Nong Pea community, surrounding Savannakhet university, The Lao people' democratic republic, LAOS PDR