ทิศทางการผลิตและการตลาดเครื่องปั้นดินเผา จังหวัดอุบลราชธานี

Titleทิศทางการผลิตและการตลาดเครื่องปั้นดินเผา จังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2560
Authorsสุจินันท์ ใจแก้ว
Degreeบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Institutionคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberHF ส752ท 2560
Keywordsการวางแผนธุรกิจ, การวางแผนเชิงกลยุทธ์, พฤติกรรมผู้บริโภค -- การตัดสินใจ, เครื่องปั้นดินเผา -- การตลาด
Abstract

งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างงานวิจัยเชิงปริมาณ และงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการผลิตเครื่องปั้นดินเผาของผู้ประกอบการในตำบลปทุม อำเภอ เมือง จังหวัดอุบลราชธานี 2) ศึกษาชนิดและปริมาณของผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาในจังหวัด อุบลราชธานี 3) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาในจังหวัด อุบลราชธานี และ 4) ศึกษาส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ เครื่องปั้นดินเผาในจังหวัดอุบลราชธานี ประชากรที่ใช้ศึกษาในวิจัยครั้งนี้คือ ประชาชนในจังหวัด อุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างจำนวน 300 คน ได้มาโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก เครื่องมือเก็บ รวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถาม ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม โดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบ มีส่วนร่วม และการสนทนากลุ่มย่อยจากผู้ประกอบการ จำนวน 5 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง น าข้อมูลที่ได้ มาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา ดำเนินการระหว่างเดือน มกราคม 2558- มกราคม 2560
ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการผลิตเครื่องปั้นดินเผาของผู้ประกอบการในจังหวัดอุบลราชธานี สามารถจำแนกได้เป็น 2 รูปแบบ คือ รูปแบบที่มีเตาเป็นของตนเอง ซึ่งเป็นรูปแบบที่เป็นส่วนใหญ่ของ ผู้ผลิต และรูปแบบการเช่าเตา การผลิตส่วนใหญ่เป็นการผลิตขนาดย่อมในครัวเรือน ผู้ประกอบการ ส่วนใหญ่มีประสบการณ์มากกว่า 10 ปีขึ้นไป ในกระบวนการผลิตเครื่องปั้นดินเผาทั้งสองรูปแบบ มีกระบวนการที่เหมือนกันทั้ง 11 ขั้นตอน ผลิตภัณฑ์หลักส่วนใหญ่คือ ครก ที่มี 4 ขนาดคือ จิ๋ว เล็ก กลาง ใหญ่ รองลงมาคือกระถางปลูกต้นไม้ แจกัน และอื่น ๆ มีการผลิตแต่ละรอบแตกต่างกัน ในแต่ ละเดือนจะผลิตประมาณ 1-2 ครั้ง ผู้ผลิตจะมีรายได้ประมาณ 30,000-40,000 บาท/ครั้ง รูปแบบที่ผู้ประกอบการมีเตาเป็นของตนเองจะมีรายได้มากกว่าแบบเช่าเตา จากการสอบถามผู้ซื้อผลิตภัณฑ์ เครื่องปั้นดินเผาในจังหวัดอุบลราชธานี พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงที่มีอายุระหว่าง 21 – 30 ปี สถานภาพโสด การศึกษาส่วนใหญ่ระดับปริญญาตรี มีรายได้ต่อเดือนเฉลี่ย 5,000 บาท ความคิดเห็น การตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคคือราคาไม่แพง แจกันเป็นสินค้าที่ถูกซื้อหามากที่สุด รองลงมาคือ ค กระถาง ครก และอื่น ๆ ตามลำดับ สำหรับการศึกษาส่วนผสมทางการตลาด พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ มีความเห็นว่าปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดทั้ง 4 ด้าน มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ เครื่องปั้นดินเผาอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านผลิตภัณฑ์ (ค่าเฉลี่ย3.86) รองลงมาคือ ด้านราคา ด้านด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านส่งเสริม การขาย คิดเป็น (ค่าเฉลี่ย 3.63, 3.35, 3.10) ตามลำดับ อย่างไรก็ตามอาชีพการผลิตเครื่องปั้นดินเผา ในจังหวัดอุบลราชธานี ยังถือเป็นอาชีพที่สามารถสืบทอดไปสู่คนรุ่นหลังให้เกิดความมั่นคงในอาชีพ และส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีต่อครอบครัวได้ ทั้งนี้เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่ชุมชนผลิตถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ ที่ทุกครัวเรือนจำเป็นต้องใช้ หากแต่ผู้ประกอบการจะต้องปรับในเรื่องของต้นทุนการผลิตให้ต่ำลง โดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการผลิตให้มากขึ้น

Title Alternate Process direction and marketing of pottery in Ubon Ratchathani province