การปรับปรุงประสิทธิภาพลูกหินขัดข้าวปอซโซลานด้วยกระบวนการขึ้นรูปด้วยเครื่องหล่อเหวี่ยง

Titleการปรับปรุงประสิทธิภาพลูกหินขัดข้าวปอซโซลานด้วยกระบวนการขึ้นรูปด้วยเครื่องหล่อเหวี่ยง
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2560
Authorsธิติกานต์ บุญแข็ง, จรวยพร แสนทวีสุข, นลิน เพียรทอง
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTS2159.R5 ธ586 2560
Keywordsกระบวนการขึ้นรูป, การสีข้าว, ข้าว, ข้าว -- เครื่องจักรกล, ลูกหินขัดข้าวปอซโซลาน, เครื่องสีข้าว
Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพลูกหินขัดข้าวที่ใช้วัสดุปอซโซลาน คือ ดินขาวอุดรธานีเป็นส่วนผสมทดแทนของวัสดุประสาน ในปัจจุบันวัสดุประสานเดิม คือ ปูนแคลซิเนดแมกนีไซด์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ดังนั้น ในงานวิจัยจึงได้ใช้วัสดุปอซโซลาน คือ ดินขาวอุดรธานีมาทดแทนในอัตราส่วนร้อยละ 37 เพื่อลดต้นทุนการผลิต โดยใช้เครื่องหล่อเหวี่ยงมาช่วยปรับปรุงกรพบวนการขึ้นรูปแทนจากแบบเดิมที่ใช้มือซึ่งขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของช่างขึ้นรูปลูกหินขัดข้าว การออกแบบการทดลองและประมวลผลโดยใช้โปรแกรมมินิแทปรีลิส 14 ด้วยฟังก์ชั่นฟูลแฟคทอเรียล สำหรับปัจจัยที่ทำการศึกษามี 2 ปัจจัย ได้แก่ ความเร็วของเครื่องหล่อเหวี่ยง แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ 120, 130, 140 rpm และความเค็มของน้ำเกลือ แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ 28, 30, 32 ดีกรี มีผลตอบ 2 ส่วนในการประเมินประสิทธิภาพ ได้แก่ อัตราการสึกหรอ และร้อยละข้าวหัก จากการประมวลผลพบว่า สภาวะที่เหมาะสมในการขึ้นรูป คือ ความเร็ว 130 rpm และความเค็มของน้ำเกลือ 30 ดีกรี ซึ่งให้อัตราการสึกหรอเฉลี่ยต่ำสุดคือ 3.86 กรัม/ชั่วโมง และมีร้อยละข้าวหักเฉลี่ยต่ำสุด คือ 24.31 เมื่อเปรียบเทียบกับลูกหินขัดข้าวปอซโซลานแบบเดิมที่ใช้มือขึ้นรูป ซึ่งมีอัตราการสึกหรอเฉลี่ย 7.27 กรัม/ชั่วโมง และมีร้อยละข้าวหักเฉลี่ย 32.53 จึงพบว่า ลูกหินขัดข้าวปอซโซลานที่ขึ้นรูปด้วยเครื่องหล่อเหวี่ยงมีประสิทธิภาพสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญในระดับ 0.05