การเตรียมความพร้อมด้านภาษาอาเซียนในระดับอุดมศึกษาเพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จังหวัดอุบลราชธานี

Titleการเตรียมความพร้อมด้านภาษาอาเซียนในระดับอุดมศึกษาเพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2559
Authorsยุวดี จิตต์โกศล
Institutionคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberP119.32.A8 ย442 2559
Keywordsกลุ่มประเทศอาเซียน, กลุ่มประเทศอาเซียน -- ภาษา, ความพร้อมด้านภาษาอาเซียน, ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน, ระดับอุดมศึกษา, เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ -- ภาษา
Abstract

โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันในการเตรียมความพร้อมด้านภาษาอาเซียนในสถาบันอุดมศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี (2) วิเคราะห์นโยบายและแผนกลยุทธ์ในการเตรียมความพร้อมด้านภาษาอาเซียนในการผลิตบัณฑิตสถาบันอุดมศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี และ (3) เสนอแนะเชิงนโยบายต่อคณะกรรมการการอุดมศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมด้านภาษาอาเซียนจังหวัดอุบลราชธานี ด้วยวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ สถาบันอุดมศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี ด้วยวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ สถาบันอุดมศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี ประกอบด้วย ผู้บริหารมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 18 คน คณาจารย์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 155 คน และผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 18 คน คณาจารย์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 155 คน และผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 18 คน คณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 143 คน ซึ่งผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติพรรณนา ซึ่งในการวิเคราะห์ผลการศึกษานั้นผู้วิจัยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
1.จากการวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันในการเตรียมความพร้อมด้านภาษาอาเซียนในสถาบันอุดมศึกษา จังหวัดอุบลราชธานีนั้น สรุปคือ ควรมีการเตรียมความพร้อมด้านภาษาอังกฤษมากที่สุด เนื่องจากเป็นภาษากลางที่ใช้ในการสื่อสารในภูมิภาคเอเซียนและควรเตรียมความพร้อมด้านภาษาอาเซียนอื่น ๆ ควบคู่ไปด้วยเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับทั้งผู้บริหาร อาจารย์ และนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาได้ในอนาคต
2.จากการวิเคราะห์นโยบายและแผนกลยุทธ์ในการเตรียมความพร้อมด้านภาษาอาเซียนในการผลิตบัณฑิตสถาบันอุดมศึกษา จังหวัดอุบลราชธานีนั้นทำให้สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดอุบลราชธานีได้รับรู้การเปลี่ยนแปลงและการเตรียมความพร้อมด้านภาษาอาเซียนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านบุคลากร ด้านการเรียนการสอน ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านงบประมาณ และด้านนโยบาย กลยุทธ์จึงถือได้ว่ามีความสำคัญอย่างมาก ซึ่งด้านที่ควรให้การเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเร่งด่วนคือ ด้านโครงสร้างพื้นฐานเนื่องจากผลการศึกษาอยู่ในระดับน้อย
3. เสนอแนะเชิงนโยบายต่อคณะกรรมการการอุดมศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมด้านภาษาอาเซียน จังหวัดอุบลราชธานี นั้นพบว่า ผลการศึกษาทางสถิติทั้งของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีและมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ ทั้งผู้บริหารและอาจารย์ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีและมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีให้ผลการศึกษาด้านที่ควรได้รับการเตรียมความพร้อมและพัฒนามากที่สุดคือ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ดังนั้นผู้วิจัยสามารถเสนอแนะเชิงนโยบายต่อคณะกรรมการการอุดมศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมด้านภาษาอาเซียน จังหวัดอุบลราชธานี (เร่งด่วน) ดังนี้
1.คณะกรรมการการอุดมศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสร้างศูนย์อำนวยการเพื่อให้อาจารย์เจ้าของภาษามาสอนในหน่วยงานท่าน และควรมีการพัฒนาความพร้อมด้านภาษาอาเซียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความชำนาญในการใช้ภาษานั้น ๆ โดยอาจเชิญอาจารย์เจ้าของภาษานั้น ๆ มาทำการสอนในแต่ละคณะที่สนใจ และควรเปิดสอนภาษาอังกฤษในรายวิชาเอกของคณะให้ได้มาตรฐาน
2.คณะกรรมการการอุดมศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรพัฒนาศูนย์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับภาษาอาเซียน และควรให้สาขาภาษาอังกฤษมีส่วนร่วมในการทำโครงการด้านการจัดตั้งองค์กรภาษาและศูนย์ภาษา
3.คณะกรรมการการอุดมศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการจัดตั้งองค์กรดำเนินงานภาษาอาเซียน เช่น สมาคม ชมรมภาษาอาเซียน
4. คณะกรรมการการอุดมศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเตรียมความพร้อมภาษาอาเซียน เช่น สร้าง Website และเพิ่มการประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูล เมื่อมีการอบรมภาษาอาเซียน
5. คณะกรรมการการอุดมศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญผลักดันและพัฒนาในการเตรียมความพร้อมด้านภาษาอาเซียนให้มากขึ้นและติดตามผลงานตลอดเวลา อีกทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดทำแผนหรือนโยบายเชิงรุกในการเตรียมความพร้อมด้านภาษาอาเซียนให้มากขึ้น และให้ความร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ โดยสถาบันการศึกษาระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียนให้มากกว่านี้ เช่น การทำ MOU ให้ครบกับทุกประเทศในกลุ่มอาเซียนให้มากกว่านี้ เช่น การทำ MOU ให้ครบกับทุกประเทศในกลุ่มอาเซียน และการขับเคลื่อนควรมาจากนโยบายหรือพันธกิจของมหาวิทยาลัยก่อนจากนั้นจึงลงมาที่คณะเป็นเชิงนโยบาย จึงจะลงสู่หลักสูตรต่อไป
6.คณะกรรมการการอุดมศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดกิจกรรมเชิญชาวต่างประเทศสมาชิกอาเซียนมาพบปะแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร เพื่อเป็นการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน อีกทั้งควรจัดกิจกรรมการเตรียมความพร้อมให้กับหลักสูตร และควรเพิ่มการเรียนการสอนหรือกิจกรรมนอกหลักสูตรที่ใช้ภาษาอาเซียนให้มากขึ้นโดยเน้นให้ทั้งอาจารย์และบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อนำมาต่อยอดในการสอนนักศึกษา นอกจากนี้ควรมีการวัดประเมินผลสัมฤทธิ์ของกิจกรรมทางอาเซียนอย่างเป็นรูปธรรม
7.คณะกรรมการการอุดมศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเน้นให้สถาบันเปิดสอนรายวิชาที่สามารถนับหน่วยกิตได้ที่มีคำว่า (ASEAN) อยู่ในรายวิชา
8.คณะกรรมการการอุดมศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเน้นให้สถาบันเพิ่มหรือมีการแลกเปลี่ยนนักศึกษาจากประเทศเพื่อนบ้านกับทั้งมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีและมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีให้มากขึ้น เช่น เวียดนาม มาเลเซีย มาทำวิจัยระยะเวลาสั้น ๆ 10-30 วัน
9.คณะกรรมการการอุดมศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเข้ามาให้ความช่วยเหลือในการจัดหาวิทยากรที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมความพร้อมด้านภาษาอาเซียนมาฝึกอบรมในสถาบันอุดมศึกษาให้มากขึ้น
10.คณะกรรมการการอุดมศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเข้ามาช่วยเหลือในการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบโครงการเตรียมความพร้อมด้านภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาพยาบาลสถาบันการศึกษาให้มากขึ้นและเพียงพอต่อความต้องการของสถาบันในปัจจุบัน

Title Alternate ASEAN languages preparation at higher education institutions in Ubon Ratchathani province to support the opening of AEC