ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากร "ลวงปลา" ในพื้นที่ระหว่างกลางแม่น้ำโขง กรณีศึกษาหมู่บ้านริมฝั่งโขง จังหวัดอุบลราชธานี

Titleภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากร "ลวงปลา" ในพื้นที่ระหว่างกลางแม่น้ำโขง กรณีศึกษาหมู่บ้านริมฝั่งโขง จังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2558
Authorsสมหมาย ชินนาค
Institutionคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberGT5904.5.T5 ส287 2558
Keywordsการจัดการทรัพยากร, การจัดการประมง -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), การลวงปลา, ประมงพื้นบ้าน -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ประมงพื้นบ้านอีสาน, ภูมิปัญญาชาวบ้าน -- ไทย(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ภูมิปัญญาชาวบ้านอีสาน, แม่น้ำโขง
Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ เพื่อศึกษารูปแบบและกลไกในการจัดการลวงปลาในพื้นที่ระหว่างกลางแม่น้ำโขงของชาวประมงพื้นบ้าน และประการที่สองเพื่อศึกษาเงื่อนไขและปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการลวงปลาในพื้นที่ระหว่างกลางแม่น้ำโขงของชาวประมงพื้นบ้านในบริเวณพื้นที่อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นหมู่บ้านชายแดนระหว่างประเทศไทยกับ สปป.ลาว การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ
ผลการศึกษาพบว่า ชาวประมงพื้นบ้านใช้รูปแบบและกลไกในการจัดการลวงปลาในพื้นที่ระหว่างกลางแม่น้ำโขงผ่านระบบสิทธิ ทั้งสิทธิส่วนบุคคลและสิทธิส่วนรวม ซึ่งมีลักษณะเป็นสิทธิเชิงซ้อน ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารพื้นที่ประมงในพื้นที่ระหว่างกลางแม่น้ำโขงพบว่ามี 2 ปัจจัย คือ ปฏิบัติการของรัฐชาติที่ทำให้แม่น้ำโขงกลายเป็นพรมแดนทางการเมืองการปกครองที่ถูกกำกับและควบคุมโดยรัฐ และการปรับเปลี่ยนระบบนิเวศน์ซึ่งส่งผลกระทบต่อวัฒนธรรมลวงปลา ทั้งจากแนวทางการพัฒนาที่ไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนของแม่น้ำโขง

Title Alternate The indigenous knowledge of "Lung Pla" (fishing sites) management in-between areas in the Mekong river : a case study of the villages along the Mekong river Ubon Ratchathani Province
Fulltext: