Title | การใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอช่วยในการผนวกยีนต้านทานโรคไหม้เข้าสู่ข้าวสายพันธุ์ปรับปรุง IR57514 เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวในที่ราบลุ่มอาศัยน้ำฝนบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง |
Publication Type | งานวิจัย/Research report |
Year of Publication | 2560 |
Authors | สุรีพร เกตุงาม |
Institution | คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | SB191.R5 ส866 2560 |
Keywords | การปรับปรุงพันธุ์ข้าว, การผลิตข้าว, ข้าวพันธุ์ผสม, พันธุ์ข้าว, ยีนต้านทานโรคไหม้, เครื่องหมายดีเอ็นเอ, เครื่องหมายพันธุกรรม |
Abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสายพันธุ์ข้าวเหนียวหอมจากข้าวสายพันธุ์ปรับปรุง Jasmine IR7514 ให้มีลักษณะต้านทานต่อโรคไหม้โดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอช่วยคัดเลือก ดำเนินการปรับปรุงพันธุ์โดยวิธีสืบประวัติร่วมกับวิธีผสมกลับ และใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอช่วยคัดเลือกร่วมกับการคัดเลือกโดยใช้ลักษณะฟีโนไทป์ โดยมีข้าวสายพันธุ์ Jasmine IR57514 (BC3F2) ซึ่งลักษณะทนน้ำท่วมฉับพลัน ความหอม และอุณหภูมิแป้งสุกต่ำเป็นสายพันธุ์รับ (recipient parent) และพันธุ์ข้าว กข6 ที่มีการผนวกยีนต้านทานโรคไหม้ (RD6-Blast No.334) เป็นสายพันธุ์ให้ (donor parent) ลักษณะต้านทานโรคไหม้ (qBl1 และ qBl11) และลักษณะข้าวเหนียว โดยมีลักษณะเป้าหมายที่ต้องการ 5 ลักษณะ ประกอบด้วยลักษณะข้าวเหนียว ต้านทานโรคไหม้ ทนน้ำท่วมฉับพลัน ความหอม และอุณหภูมิแป้งสุกต่ำ จากการตรวจสอบและคัดกรองเครื่องหมายดีเอ็นเอที่ใกล้ชิดกับ QTLs/ยีน ควบคุมลักษณะเป้าหมายดังกล่าว พบว่า มีเครื่องหมายดีเอ็นเอที่แยกความแตกต่างระหว่างพ่อแม่และสามารถใช้ในการติดตามยีน/QTLs ควบคุมลักษณะเป้าหมายได้จำนวน 8 เครื่องหมาย ประกอบด้วย RM212/RM319 (qBl1: ลักษณะต้านทานโรคไหม้บนโครโมโซม 1) RM144/RM1233 (qBl11: ลักษณะต้านทานโรคไหม้บนโครโมโซม 11) Wx-Glu23 (wx: ลักษณะข้าวเหนียว) Aromarker (badh2: ลักษณะความหอม) R10783indel (Sub1: ลักษณะทนน้ำท่วมฉับพลัน) และ SNP2340-41 (SSlla-TT: ลักษณะอุณหภูมิแป้งสุกต่ำ) การพัฒนาประชากรเริ่มจากการสร้างประชากร F1 โดยผสมระหว่างข้าวสายพันธุ์ปรับปรุง Jasmine IR57514 กับ RD6-blast No.334 สามารถสร้างประชากร F1 ได้จำนวน 11 ต้น จากนั้นปล่อยให้ผสมตัวเองเพื่อสร้างประชากร F2 ได้จำนวน 300 ต้น แล้วทำการคัดเลือกลักษณะทรงต้นและการแตกกอและใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอช่วยในการคัดเลือกลักษณะเป้าหมายทั้ง 5 ลักษณะ ได้จำนวน 9 ต้นแล้วปล่อยให้ผสมตัวเองเพื่อสร้างประชากร F3 ได้จำนวน 1700 ต้น ทำการทดสอบความสามารถุในการทนน้ำท่วมฉับพลันเบื้องต้นในประชากร F3 แล้วนำมาคัดเลือกโดยใช้ลักษณะทรงต้นการแตกกอดีและใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอช่วยคัดเลือกลักษณะเป้าหมายทั้ง 5 ลักษณะ ได้จำนวน 10 ต้น จากนั้นนำมาผสมกลับไปยังข้าวสายพันธุ์ปรับปรุง Jasmine IR57514 สร้างประชากร BC1F1 ตรวจสอบความเป็นลูกผสมแท้ในประชากร BC1F1 โดยใช้เครื่องหมาย Wx-Glu23 พบว่า มีประชากร BC1F1 เป็นลูกผสมแท้จำนวน 48 ต้น แล้วปล่อยให้ผสมตัวเองสร้างประชากร BC1F2 ได้จำนวน 3200 ต้น จากนั้นคัดเลือกลักษณะทรงต้น การแตกกอ และลักษณะเป้าหมายทั้ง 5 ลักษณะโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอได้จำนวน 115 ต้น แล้วปล่อยให้ผสมตัวเอง สร้างประชากร BC1F3 ได้จำนวน 6900 ต้น ทำการคัดเลือกลักษณะทรงต้น การแตกกอ จำนวนเมล็ดต่อรวง ขนาดเมล็ด และคัดเลือกลักษณะเป้าหมายโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอทั้ง 5 ลักษณะ พบว่า สามารถคัดเลือกต้นข้าวประชากร BC1F4 ที่มียีน/QTLs ควบคุมลักษณะเป้าหมายทั้ง 5 ลักษณะที่เป็นสายพันธุ์แท้ทุกตำแหน่งได้จำนวน 21 ต้น จาก 10 families (qBl1RD/RD, qBl11RD/RD, Sub1IR/IR, wxRD/RD, badh2IR/IR และ SSlla-TTIR/IR) โดยสายพันธุ์ข้าวที่ได้รับการคัดเลือกเหล่านี้ จะนำไปสู่ประเมินประสิทธิภาพการใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอช่วยคัดเลือกลักษณะข้าวเหนียว ต้านทานโรคไหม้ ทนน้ำท่วมฉับพลัน ความหอม และอุณหภูมิแป้งสุกต่ำต่อไป |
Title Alternate | Marker assisted pyramiding of blast resistance genes into improve IR57514 rice line for enhancing rainfed lowland rice production in Mekong region |