Title | การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่องการสืบพันธุ์ของพืชและจำแนกพืช โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2561 |
Authors | บุญศรี วราพุฒ |
Degree | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา |
Institution | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | QK บ572 2561 |
Keywords | การสอนวิทยาศาสตร์, การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, พืช -- การสืบพันธุ์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา), วิทยาศาสตร์ |
Abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์เรื่อง การสืบพันธุ์ของพืชและการจำแนกพืชรวมทั้งศึกษาประสิทธิภาพและประสิทธิผลในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (2) ศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียน (3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และ (4) ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ ระเบียบวิธี วิจัยประกอบด้วย การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนำไปใช้กับกลุ่มที่ศึกษาซึ่งได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 15 คน เก็บข้อมูลจาก 1) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนซึ่งเป็นข้อสอบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 2) ใบงาน และ 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนซึ่งเป็นฉบับเดียวกับแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน การทดสอบหลังเรียนจัดขึ้นหลังเสร็จสิ้นกิจกรรมการเรียนรู้ ผลการวิจัยพบว่า กิจกรรมการ เรียนรู้แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์นี้ ประกอบด้วย 5 ขั้น ขั้นที่ 1 นักเรียนจดจ่อกับคำถามที่จะนำไปสู่การสืบเสาะ ขั้นที่ 2 นักเรียนเก็บข้อมูลเพื่อสร้างเป็นหลักฐานที่เกี่ยวเนื่องกับคาถาม ขั้นที่ 3 นักเรียนสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์จากประจักษ์พยานที่ค้นพบ ขั้นที่ 4 นักเรียนเชื่อมโยงคำอธิบายไปยังองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และขั้นที่ 5 นักเรียนสื่อสารและโต้แย้งแสดงเหตุผล สนับสนุนผลการค้นพบของตนเอง ใช้เวลาในการจัดกิจกรรม 420 นาที ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์นี้มีค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 92.42/86.71 ค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.5469 นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเฉลี่ยอยู่ใน ระดับปานกลาง ( = 0.5469) และการเรียนรู้แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ทำให้นักเรียนสามารถยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนจากระดับพอใช้ คิดเป็นร้อยละ 55.55 ไปสู่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนระดับดีเยี่ยม คิดเป็นร้อยละ 87.55 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 และมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับดีมาก |
Title Alternate | The development of grade 5 students' learning achievement the topic of plant reproduction and plant classification using science inquiry instruction |