การพัฒนาความเข้าใจมโนมติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง พันธะไอออนิก และคุณสมบัติของสารประกอบไอออนิกด้วยโมเดลระดับอนุภาค

Titleการพัฒนาความเข้าใจมโนมติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง พันธะไอออนิก และคุณสมบัติของสารประกอบไอออนิกด้วยโมเดลระดับอนุภาค
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2561
Authorsกฤษฎา พนันชัย
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา
Institutionคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberQD ก279 2561
Keywordsการสอนวิทยาศาสตร์, พันธะเคมี, เคมี -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา), เคมี -- กิจกรรมการเรียนการสอน
Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความเข้าใจมโนมติ เรื่อง พันธะไอออนิกและคุณสมบัติของสารประกอบไอออนิกด้วยโมเดลระดับอนุภาค โดยมีกลุ่มที่ศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จํานวน 26 คน จากโรงเรียนโยธินบูรณะเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับโมเดลระดับอนุภาค จํานวน 12 ชั่วโมง และเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความเข้าใจมโนมติแบบวินิจฉัยสองลําดับขั้น จํานวน 21 ข้อ จากการวิเคราะห์คะแนนจากแบบวัดความเข้าใจมโนมติพบว่า นักเรียนมีคะแนนความเข้าใจมโนมติหลังเรียน (mean 37.11, SD 6.66) สูงกว่าก่อนเรียน (mean 18.76, SD 6.14) และสูงกว่าคะแนนความคงทนของมโนมติ (mean 36.20, SD 6.37) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% โดยหลังเรียนมีผลรวมร้อยละของนักเรียนที่ไม่มีความเข้าใจมโนมติและความเข้าใจมโนมติผิด (NU+MU) ลดลงจากก่อนเรียนเป็น 51.41 และมีผลรวมร้อยละความเข้าใจมโนมติถูกต้องบางส่วนและผิดบางส่วน (PMU) และมโนมติถูกต้องเป็นส่วนใหญ่และถูกต้องสมบูรณ์ (PU+SU) เพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนเป็น 35.35 และ 16.11 ตามลําดับ เมื่อทดสอบความคงทนพบว่าแตกต่างกันกับคะแนนหลังเรียน แสดงให้เห็นว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับโมเดลระดับอนุภาคในลักษณะนี้สามารถพัฒนาความเข้าใจมโนมติในเรื่องนี้ของนักเรียนได้แต่ยังไม่สามารถทําให้นักเรียนมีความคงทนของมโนมติได้เท่าที่ควร

Title Alternate Development of grade 10 students' conceptual understanding on ionic bonding and properties of ionic compound by using particulate models