การศึกษาปัจจัยส่งเสริมการประกอบธุรกิจการค้าชายแดนระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว: กรณีศึกษาบริเวณจังหวัดนครพนมและจังหวัดมุกดาหาร

Titleการศึกษาปัจจัยส่งเสริมการประกอบธุรกิจการค้าชายแดนระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว: กรณีศึกษาบริเวณจังหวัดนครพนมและจังหวัดมุกดาหาร
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2560
Authorsนารีรัตน์ พรรณราย
Degreeบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Institutionคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberHF น488 2560
Keywordsการค้ากับต่างประเทศ, การค้าชายแดน -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ชายแดนไทย-ลาว
Abstract

การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสํารวจว่า ปัจจัยทางธุรกิจส่งผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจการค้าชายแดนระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) บริเวณจังหวัดนครพนมและจังหวัดมุกดาหารอย่างไร โดยประชากรที่ใช้ในการสํารวจ ได้แก่ ผู้ประกอบการรายย่อย ทั้งชาวไทย และ สปป.ลาว ที่ประกอบธุรกิจบริเวณจุดผ่อนปรน อําเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม และสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 2 จังหวัดมุกดาหารจํานวน 48 คน โดยใช้ การวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงโครงสร้าง โดยกําหนดระยะเวลาในการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2558 ผลการสํารวจ พบว่า ภาวะเศรษฐกิจ กฎระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมาย การเมือง สังคม และวัฒนธรรม ส่งผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจการค้าชายแดนระหว่างไทยและ สปป.ลาว ทั้งในแง่การส่งเสริมการค้า และการเป็นอุปสรรคในการประกอบธุรกิจ การสํารวจแสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจไม่ได้ส่งผลกระทบการค้าชายแดนโดยตรง แต่ส่งผลในภาพรวมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบายของภาครัฐที่เข้ามาสนับสนุนการค้าชายแดน ขณะที่สถานการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศไทยและ สปป.ลาว ที่ไม่ได้มีความรุนแรงในระดับที่น่าจับตามอง ส่วนหนึ่งมาจากตลอดหลายปีหลัง เหตุการณ์สําคัญด้านการเมืองล้วนเกิดขึ้นในจังหวัดกรุงเทพมหานครที่เป็นศูนย์กลางการบริหารประเทศ ปัจจัยสําคัญที่ส่งเสริมการประกอบธุรกิจการค้า ชายแดนระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเมืองอย่างช้า ๆ ที่เอื้อให้ผู้ประกอบการรายย่อยมีโอกาสปรับตัว แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นข้อจํากัดที่ทําให้การประกอบธุรกิจเติบโตได้ไม่ดีเท่าธุรกิจที่ได้รับการสนับสนุนจากนโยบายภาครัฐ ด้านสังคมและวัฒนธรรมตลอดจนความใกล้ชิดระหว่างไทยลาวก็สร้างข้อได้เปรียบให้ ผู้ประกอบการทั้งสองประเทศในแง่การสร้างความเข้าใจและลดความผิดพลาดในการดําเนินธุรกิจ อีกทั้งข้อบังคับและการเก็บภาษีที่เอื้อประโยชน์ให้ชาวลาวเข้ามาประกอบกิจกรรมการค้าชายแดนได้สะดวกยิ่งขึ้น ส่วนอุปสรรคสําคัญของผู้ประกอบการ คือ การขาดความเข้าใจในวัฒนธรรมบางประการที่มีความแตกต่างระหว่างชาวไทยและ สปป.ลาว ขณะเดียวกันในปัจจุบันรัฐบาลลาวยังไม่มีนโยบาย สนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยเดินทางข้ามไปทําการค้าชายแดนในประเทศลาว ทั้งนี้ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะให้รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ในเรื่อง วัฒนธรรมที่แตกต่างกันระหว่างสองประเทศไทยควบคู่กับการสร้างนโยบายสนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มระหว่างผู้ประกอบการรายย่อยข้ามประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนแนวทางการประกอบธุรกิจ พร้อมกับโน้มน้าวให้สปป.ลาว ปรับปรุงนโยบายการค้าชายแดนที่อํานวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการชาวไทยอย่างเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น

Title Alternate Factors promoting border trade between Thailand and the Lao People's Democratic Republic: a case study of Nakhon Phanom Province and Mukdahan Province Area